เห็นเขาเล่นกันมานานละ วันนี้มีโอกาสเลยลองมั่ง
ปลาย่าง
...
...
...
...
...
...
...
...
...
เบื่อกล้อง Nokia รุ่นหลังๆ ทำไมไม่ชัดเลย ยิ่งทำยิ่งแย่รึไงเนี่ย
26 มิถุนายน 2552
100 | R.I.P. King of Pop
ไม่นึกเลยว่า Entry ที่ 100 ของ Blog นี้จะกลายเป็น Entry ไว้อาลัยชายผู้ยิ่งใหญ่คนนี้...
"ไมเคิล แจ็คสัน" นักร้องชื่อดังเจ้าของฉายา "ราชาเพลงป็อป" ได้เสียชีวิตแล้ว หลังจากถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาล เมื่อได้รับรายงานว่าเขาหัวใจวายที่บ้านพักของตัวเองเมื่อบ่ายวันนี้
ไมเคิล แจ็คสัน นักร้องชื่อดังของวงการดนตรีโลกได้เสียชีวิตลงแล้วในวัย 50 ปี ที่ลอส แองเจลิส เมื่อเวลาบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จากการเปิดเผยของ TMZ และ หนังสือพิมพ์ latimes.com
ไมเคิลเกิดอาการหัวใจวายเมื่อช่วงบ่ายที่บ้านพักของเขาที่ Holmby Hills ซึ่งทีมพยาบาลไม่สามารถช่วยชีวิตของเขาเอาไว้ได้ ซึ่งตอนที่ทีมแพทย์ไปถึงที่เกิดเหตุ ไมเคิลก็สิ้นลมหายใจไปเสียแล้ว แต่ทีมแพทย์ก็ไม่สามารถนำลมหายใจของเขากลับคืนมาได้
แหล่งข่าวเผยว่าไมเคิลเสียชีวิตตั้งแต่ถูกส่งตัวมาถึงที่โรงพยาบาล UCLA ทางทีมแพทย์โรคหัวใจที่โรงพยาบาลเผยสาเหตุการเสียชีวิตมาจากหัวใจวาย
แม้ทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลจะพยายามยื้อชีวิตของไมเคิลกับมาเป็นครั้งที่สอง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน
ลาโทยา พี่สาวของไมเคิลถูกพบวิ่งร้องไห้เข้าไปในโรงพยาบาล เมื่อเธอรู้ว่าน้องชายคนดังของเธอเสียชีวิตแล้ว
ไมเคิลมีทายาททิ้งไว้ดูต่างหน้า 3 คน คือ ไมเคิล โจเซฟ แจ็คสัน, ปาริส ไมเคิล แคเธอรีน แจ็คสัน และ พรินซ์ ไมเคิล แจ็คสัน ที่สอง
ทางด้าน ไมเคิล เลวิน อดีตประชาสัมพันธ์ของไมเคิลออกแถลงการณ์ล่าสุดมาว่าเขาไม่รู้สึกแปลกใจเลย ซักนิดว่าข่าวเศร้าของวงการเพลงครั้งนี้จะมาถึงเร็วกว่าที่หลายๆ คนคาด
"ในฐานะคนที่ทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ให้กับไมเคิล แจ็คสันมาตั้งแต่คดีละเมิดทางเพศเยาวชนครั้งที่หนึ่ง ผมขอเปิดใจว่าผมไม่ประหลาดใจต่อโศกนาฎกรรมในวันนี้เลย"
"ไมเคิลต้องเผชิญกับปัญหายากลำบากที่เกินกว่าใครจะเชื่อ และพาตัวเองเข้าสู่เส้นทางทำลายตัวเองมาเป็นปีๆ ความสามารถของเขาไร้ข้อกังขา แต่มันก็แลกมาด้วยความแปลกแยกของเขาจากวิถีของชาวโลกทั่วไป"
"คนธรรมดาไม่สามารถทนรับต่อระดับความตึงเครียดที่ยาวนานเช่นนี้"
(ข่าวจาก http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000072204)
...
Favourite Idol ของผมตั้งแต่เป็นเด็กน้อยจนถึงปัจจุบัน
และยังเป็น Favourite Idol ของผู้คนร่วมสมัยอีกมากมายมหาศาล การมีตัวตนของ Michael Jackson สามารถสร้างกระแสนิยมที่เปลี่ยนโลกได้จริงๆ อย่างที่ปัจจุบันได้รับมาจากอดีตในสมัยนั้น
Favourite Track ของผม : "Man in the Mirror", "Smooth Criminal" แต่ที่ชอบที่สุดได้แก่ "You are not Alone" ครับ
Rest In Peace.
24 มิถุนายน 2552
099 | Microsoft Windows 7
ขณะที่กำลังเขียน Entry เลขสวยอยู่นี้เป็นเวลา 3 ทุ่ม
ผมกำลังทำงานอยู่ที่ ARITC โดยเครื่องที่ใช้ทำงานอยู่เป็นระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7 RC ที่ไมโครซอฟต์เปิดให้ Download ใช้ฟรี 1 ปี ..และผมเพิ่งจะทำชิ้นงานออกแบบแผ่นพับกิจกรรมในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2552 ด้วยโปรแกรม Macromedia Firework 8 เสร็จ โดยการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และ OS ไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นเลย แม้แต่ครั้งเดียว !!!
สิ่งที่ทำให้ประทับใจกับ 7 อันดับแรกเลยก็คือ ความเร็ว ครับ เปรียบเทียบแล้วความลื่นไหลเทียบได้กับ Windows XP แต่ความสวยงามของลูกเล่น (Aero) ทำให้ผมไม่อยากจะเชื่อว่าไมโครซอฟต์จะทำได้ ซึ่งยิ่งใช้ไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามัน ยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ อย่างที่เคยเกิดกับ Windows Vista ที่ใช้ GUI ลักษณะเดียวกัน
Accesssories ที่ให้มากับ OS ทั้งหมดก็ล้วนแต่นำมาใช้งานเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เช่น
- Paint ที่ผมรู้สึกว่ามันคือ Photoshop แบบ Lite Version
- Snipping Tool ที่ทำให้ลืม SnagIt ไปเลย
- Windows Powershell ISE ดูราวกับเป็น Text Editor ที่ครอบคลุมประโยชน์ใช้งาน
- Calculator ซับซ้อนขึ้น ลูกเล่นละเอียดขึ้น
การติดตั้งโปรแกรมใหม่ ก็ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด (ในกรณีที่สามารถใช้กับ Windows XP ได้ ส่วนใหญ่ก็จะใช้กับ 7 ได้เช่นกัน แต่อาจไม่รองรับ Aero ซึ่ง 7 ก็จะปรับไปมาให้เอง)
ส่วนที่ประทับใจเองนอกเหนือจากนี้ก็คือ การเปลี่ยนภาษา ซึ่งเท่าที่เห็นยังไม่มีปุ่ม ` มาให้ และ Default กำหนดให้ใช้ Alt+Shift ซึ่งผม ชอบที่สุดเลย !!!
โดยรวมๆ แล้วผมประทับใจ 7 อย่างมากมาย และรู้สึกว่านอกจาก Windows XP แล้ว นี่เป็น OS ของไมโครซอฟต์ที่น่าใช้ที่สุด และผมรู้สึกดีกับมันทุกส่วน ...ยกเว้น Windows Internet Exploer 8 ซึ่งจนทุกวันนี้ผมก็ยังไม่สามารถ "ยอมรับ" มันได้เสียที (อคติส่วนตัวน่ะครับ)
Entry เลขสวยที่ 99 ของ Blog นี้ ผมขออุทิศให้กับ "Microsoft Windows 7" ด้วยความยกย่องอย่างเต็มใจครับ.
ผมกำลังทำงานอยู่ที่ ARITC โดยเครื่องที่ใช้ทำงานอยู่เป็นระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7 RC ที่ไมโครซอฟต์เปิดให้ Download ใช้ฟรี 1 ปี ..และผมเพิ่งจะทำชิ้นงานออกแบบแผ่นพับกิจกรรมในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2552 ด้วยโปรแกรม Macromedia Firework 8 เสร็จ โดยการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และ OS ไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นเลย แม้แต่ครั้งเดียว !!!
สิ่งที่ทำให้ประทับใจกับ 7 อันดับแรกเลยก็คือ ความเร็ว ครับ เปรียบเทียบแล้วความลื่นไหลเทียบได้กับ Windows XP แต่ความสวยงามของลูกเล่น (Aero) ทำให้ผมไม่อยากจะเชื่อว่าไมโครซอฟต์จะทำได้ ซึ่งยิ่งใช้ไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามัน ยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ อย่างที่เคยเกิดกับ Windows Vista ที่ใช้ GUI ลักษณะเดียวกัน
Accesssories ที่ให้มากับ OS ทั้งหมดก็ล้วนแต่นำมาใช้งานเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เช่น
- Paint ที่ผมรู้สึกว่ามันคือ Photoshop แบบ Lite Version
- Snipping Tool ที่ทำให้ลืม SnagIt ไปเลย
- Windows Powershell ISE ดูราวกับเป็น Text Editor ที่ครอบคลุมประโยชน์ใช้งาน
- Calculator ซับซ้อนขึ้น ลูกเล่นละเอียดขึ้น
การติดตั้งโปรแกรมใหม่ ก็ยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด (ในกรณีที่สามารถใช้กับ Windows XP ได้ ส่วนใหญ่ก็จะใช้กับ 7 ได้เช่นกัน แต่อาจไม่รองรับ Aero ซึ่ง 7 ก็จะปรับไปมาให้เอง)
ส่วนที่ประทับใจเองนอกเหนือจากนี้ก็คือ การเปลี่ยนภาษา ซึ่งเท่าที่เห็นยังไม่มีปุ่ม ` มาให้ และ Default กำหนดให้ใช้ Alt+Shift ซึ่งผม ชอบที่สุดเลย !!!
โดยรวมๆ แล้วผมประทับใจ 7 อย่างมากมาย และรู้สึกว่านอกจาก Windows XP แล้ว นี่เป็น OS ของไมโครซอฟต์ที่น่าใช้ที่สุด และผมรู้สึกดีกับมันทุกส่วน ...ยกเว้น Windows Internet Exploer 8 ซึ่งจนทุกวันนี้ผมก็ยังไม่สามารถ "ยอมรับ" มันได้เสียที (อคติส่วนตัวน่ะครับ)
Entry เลขสวยที่ 99 ของ Blog นี้ ผมขออุทิศให้กับ "Microsoft Windows 7" ด้วยความยกย่องอย่างเต็มใจครับ.
098 | New Branch at ARITC
เทอมนี้ได้รับคำสั่งใหม่ ให้ไปประจำการที่อาคาร 15 ครับ
เรื่องก็คือทางสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ARITC) หน่วยงานเก่าที่ผมเคยอยู่สมัยเป็นโปรแกรมเมอร์ จะปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ แล้วไปๆ มาๆ ชื่อผมไปโผล่อยู่ในโครงสร้างใหม่ของเขาด้วย ในตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบ (ถ้าจำชื่อไม่ผิดนะ) ก็คือไปอยู่ห้องโปรแกรมเมอร์เดิมที่เคยอยู่นั่นแหละครับ
เมื่อวันก่อนเลยไปดูที่ห้อง (คือตอนที่ผมทำงานอยู่ ห้องทำงานยังอยู่ที่เก่าคือ อาคาร 4 ชั้น 2 แต่ตอนนี้เขาย้ายไปอาคาร 15 ที่สร้างใหม่แล้ว) ก็พบว่าเขาเตรียมโต๊ะพร้อมเครื่องไว้ให้แล้ว ...แต่ยังไม่มีงานให้ทำครับ ก็เลยไปลง Windows รอไว้ก่อน
โต๊ะทำงานครับ (เปิด Restaurant City เล่นอยู่ด้วย)
ล่าสุดลง Windows 7 RC ที่ Microsoft เปิดให้ใช้ฟรี 1 ปีครับ ไม่รู้จะทำงานได้เปล่า
เรื่องก็คือทางสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ARITC) หน่วยงานเก่าที่ผมเคยอยู่สมัยเป็นโปรแกรมเมอร์ จะปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ แล้วไปๆ มาๆ ชื่อผมไปโผล่อยู่ในโครงสร้างใหม่ของเขาด้วย ในตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบ (ถ้าจำชื่อไม่ผิดนะ) ก็คือไปอยู่ห้องโปรแกรมเมอร์เดิมที่เคยอยู่นั่นแหละครับ
เมื่อวันก่อนเลยไปดูที่ห้อง (คือตอนที่ผมทำงานอยู่ ห้องทำงานยังอยู่ที่เก่าคือ อาคาร 4 ชั้น 2 แต่ตอนนี้เขาย้ายไปอาคาร 15 ที่สร้างใหม่แล้ว) ก็พบว่าเขาเตรียมโต๊ะพร้อมเครื่องไว้ให้แล้ว ...แต่ยังไม่มีงานให้ทำครับ ก็เลยไปลง Windows รอไว้ก่อน
โต๊ะทำงานครับ (เปิด Restaurant City เล่นอยู่ด้วย)
ล่าสุดลง Windows 7 RC ที่ Microsoft เปิดให้ใช้ฟรี 1 ปีครับ ไม่รู้จะทำงานได้เปล่า
19 มิถุนายน 2552
096 | ภาษา C กับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
9 เดือนผ่านไปหลังจาก Python สำแดงฤทธิ์ในวิชาหลักการเขียนโปรแกรม (Principle of Programming) ผมได้กลับมาสอนวิชานี้อีกครั้งแล้วครับ แต่คราวนี้เป็นนักศึกษาภาค กศ.บป. (ภาคเสาร์อาทิตย์) ก็ถึงคราวที่จะต้องมาพิจารณาถึงภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะเอามาสอนกันอีกครั้ง
ผมสังเกตปัญหาที่เกิดจากการใช้ภาษา Python ในการสอนเขียนโปรแกรมคราวก่อน สรุปได้ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้ :
1. โครงสร้างภาษาง่ายเกินไป
ไม่ได้หมายความว่า Python เขียนง่ายนะครับ แต่หมายถึงว่าในการสอนให้ครอบคลุมกับ Course Syllabus ที่กำหนดไว้ในรายวิชานี้ (การประกาศตัวแปร, การทำตามคำสั่งแบบตามเงื่อนไข-ทำซ้ำ, ชนิดของข้อมูล ฯลฯ) มันยังไม่สามารถที่จะแสดงบร๊ะลานุภาพของภาษาออกมาได้เต็มที่ ดังนั้นกว่าที่เราจะได้รู้ว่า Python ดียังไง ก็จบคอร์สเสียแล้วโดยที่โปรแกรมที่เขียนๆ กันมา ยังไม่ถึงระดับที่ซับซ้อนเลย
2. การนำความรู้ไปใช้ต่อยอด
ปัญหานี้ใหญ่พอสมควรเลยครับ เนื่องจากนักศึกษาได้รู้จัก Python เพียงภาษาเดียวในตอนที่เรียนเขียนโปรแกรม ดังนั้นพวกเขาจะไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการเขียนโปรแกรม ..เออ..ผมขอเรียกว่า "การเขียนโปรแกรมแบบ C" ละกัน คือพอไปเจอภาษาที่ต้องใช้มากขึ้นในรายวิชาที่ต้องเขียนโปรแกรมเอง เช่น Java, C# หรือแม้แต่ PHP มันก็เลยทำให้ไม่คุ้นเคย และต้องมาเริ่มศึกษารูปแบบกันใหม่หมด (Geek บางท่านอ่านแล้วอาจจะบอกว่า เขียนโปรแกรมไม่ควรยึดติดกับภาษา...ใช่ครับ แต่นี่คือนักศึกษาปี 1 ที่ไม่ได้เก่งมาจากที่ไหนกันทุกคนครับ) ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้เนื้อหาในรายวิชานั้นต้องช้าลงไปอีก ..ตรงนี้ผมผิดเต็มๆ ครับ
3. ตลาดไม่โต
ตลาด Python ในไทยไม่ค่อยโตเท่า Java, C หรือ .NET แน่นอนครับ แค่แหล่งข้อมูลให้ศึกษาหรือดู Code เพิ่มเติมจากที่สอนก็หายากอยู่ (ถ้าไม่นับว่านักศึกษาไม่ค่อยชอบอ่าน Text Book เท่าไร) ด้วยตัวของนักศึกษาเองทำให้เขาน่าจะรู้สึกบ้างแหละว่า นี่ตูกำลังเรียนภาษาที่ไม่ค่อยมีคนใช้กันรึไง ความรู้สึกแบบนี้จะนำไปสู่อคติครับ
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ทำให้ผมต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีกครั้งในเรื่องของการเลือกภาษา ว่าถึงอย่างไร Python ก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ใช้ได้ในตอนนี้ิ สุดท้ายผมก็ต้องเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้เรียนใช้สอนกันมากที่สุด ก็คือ ภาษา C ครับ
(อาจดูเหมือนว่าผมไม่ค่อยอยากจะเอาภาษา C มาสอนเท่าไร เหตุผลได้อธิบายไปแล้วในตอนที่ 017 อ่านได้จาก Link ด้านบนครับ)
แต่เดี๋ยวก่อน...นิสัยขบถแหกกฏตลอดของผมมันยังไม่ยอมแพ้ ไหนๆ ก็ต้องใช้ภาษา C แล้ว ไม่อยากเหมือนใคร เหอๆๆๆๆๆๆๆ
ปกติแล้ว C Compiler ที่นิยมใช้สอนกันมากที่สุดในคลาสสอนภาษา C ก็คือ Turbo C / Turbo C++ ใช่ไหมครับ ..แต่ผมจะไม่ใช้อ่ะ ทั้งๆ ที่ตอนผมเรียนปี 1 ผมก็ใช้ Turbo C++ 3.0 แต่ตอนนั้นเครื่องที่ใช้เรียนเป็นเครื่องโบราณ ติดตั้ง Windows 98 การใช้ Turbo C++ ก็ถือว่าสมเหตุสมผลที่สุดแล้วครับ แต่ว่าห้องเรียนที่ผมจะใช้สอนในเทอมนี้ มันเป็นเครื่อง Lenovo ใหม่เอี่ยม สเป็คหรู แถมจอยังเป็น Wide Screen อีก
หน้าจอของ Turbo C++ มันล้นขอบ Monitor ครับ...(ฮา)
เรื่องหน้าจอมันเรื่องเล็กน้อยครับ แต่จริงๆ แล้วที่ไม่อยากใช้ Turbo C++ เพราะ ไม่อยากให้นักศึกษายึดติดกับ Tools หรือ IDE ครับ ว่าถ้าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C แล้วต้องมี Turbo C++ (ซึ่งทุกวันนี้นักศึกษาที่นี่ส่วนใหญ่เป็นกันอยู่) อยากให้เห็นว่า ขอแค่มี C Compiler คุณจะอยู่ในสภาพแวดล้อมไหนก็ต้องเขียน C ได้
ในใจก็อยากจะเปลี่ยนไปใช้ gedit เขียน แล้วเอา gcc Compile บน Ubuntu ซะเลย (เครื่องในห้องนี้มี Ubuntu ด้วยครับ) ก้เกรงว่าจะแหกคอกเกินจนอาจทำให้ตกงานได้ ผมก็เลยพยายามหา C Compiler ที่ไม่ใช่ Turbo C++ แต่ยังต้องเขียนโปรแกรมเบื้องต้นได้ คุณสมบัติควรจะคล้ายกันมากที่สุด
เปิด Wikipedia แล้วก็ลองไปทีละตัวครับ
แน่นอนผมไม่รู้จักทุกตัวหรอกครับ ตอนเรียน ป.โท ปี 1 อ.ฝงแนะนำให้ใช้ djgpp ซึ่งมันเท่มาก! แต่ติดตั้งยากเย็นแสนสาหัส และผมคิดว่ามันไม่ค่อยสะดวกเท่าไรหากเราจะสร้าง Environment สำหรับเขียนโปรแกรม (กว่าจะได้เขียนก็ลำบากยากหนักหนา 555) อยากใช้ gcc ก็ไม่มีบน Windows Platforms (พอไปขวนขวายถึง Cygwin หรือ Mingw ผมก็รู้สึกว่าผมกำลังหลงประเด็น) อ.แมนแนะนำให้ใช้ Microsoft Visual Studio.NET เขียน ซึ่งผมว่าช้างตัวนี้มัน Cost สูงไปหน่อยถ้าจะเอาไปจับตั๊กแตนอะนะ (และสุดท้าย อ.แมนก็เห็นด้วย) หาไปหามาจนปวดลูกตาหมดแล้ว สุดท้ายก็ไปถูกใจตัวนี้ครับ...
Tiny C Compiler (ต่อไปจะขอเรียกว่า TCC)
TCC เป็น C Compiler ขนาดจิ๋วมาก และก็ Compile ได้แต่ภาษา C เท่านั้นด้วย (ไม่สามารถ Compile C++ ได้ ซึ่งผมก็ไม่ได้สอนถึงอยู่แล้ว) Download ตัว Zip มาแค่ 280 Kb และ Extract ใช้ได้เลย ไปกำหนด System Path กับ Environment Variables นิดหน่อยก็เวิร์คแล้ว แถมทำงานได้เร็วอีก
วิธีการอาจจะแตกต่างจาก Turbo C++ ที่มี IDE ในตัวนิดนึง ลองอธิบายให้ดูแบบคร่าวๆ ดังนี้ครับ :
1. เขียน Source Code ภาษา C ขึ้นมาโดยใช้ Text Editor ซักตัว (จะใช้ Notepad, EditPlus, Notepad++ หรือ ฯลฯ ก็ว่าไป) Save เป็นไฟล์นามสกุล .c
2. สั่ง Compile Source Code ด้วยคำสั่ง
3. จะได้ไฟล์ Executable มา เรียกทดสอบได้เลย
การ Compile และ Run ในข้อ 2-3 ทำใน Command Prompt (cmd) ครับ ...เท่แบบนี้แหละชอบที่สุดเลย
Homepage ของ TCC ครับ
พรุ่งนี้เช้าก็จะได้สอนวิชานี้เป็นครั้งแรกแล้วครับ แต่คงยังไม่ได้เขียนโปรแกรมเลย น่าจะ Intro ซัก 2 ครั้งแล้วถึงจะเริ่มเขียนโปรแกรม แต่ในที่สุดก็คือ ผมก็ยังไม่รู้ว่านักศึกษากลุ่มนี้เป็นยังไง เมื่อถึงเวลาสอนจริง TCC อาจจะไม่ได้ดั่งใจก็ได้ ผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่ยังไงก็ต้องลองดูละครับ.
ผมสังเกตปัญหาที่เกิดจากการใช้ภาษา Python ในการสอนเขียนโปรแกรมคราวก่อน สรุปได้ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้ :
1. โครงสร้างภาษาง่ายเกินไป
ไม่ได้หมายความว่า Python เขียนง่ายนะครับ แต่หมายถึงว่าในการสอนให้ครอบคลุมกับ Course Syllabus ที่กำหนดไว้ในรายวิชานี้ (การประกาศตัวแปร, การทำตามคำสั่งแบบตามเงื่อนไข-ทำซ้ำ, ชนิดของข้อมูล ฯลฯ) มันยังไม่สามารถที่จะแสดงบร๊ะลานุภาพของภาษาออกมาได้เต็มที่ ดังนั้นกว่าที่เราจะได้รู้ว่า Python ดียังไง ก็จบคอร์สเสียแล้วโดยที่โปรแกรมที่เขียนๆ กันมา ยังไม่ถึงระดับที่ซับซ้อนเลย
2. การนำความรู้ไปใช้ต่อยอด
ปัญหานี้ใหญ่พอสมควรเลยครับ เนื่องจากนักศึกษาได้รู้จัก Python เพียงภาษาเดียวในตอนที่เรียนเขียนโปรแกรม ดังนั้นพวกเขาจะไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการเขียนโปรแกรม ..เออ..ผมขอเรียกว่า "การเขียนโปรแกรมแบบ C" ละกัน คือพอไปเจอภาษาที่ต้องใช้มากขึ้นในรายวิชาที่ต้องเขียนโปรแกรมเอง เช่น Java, C# หรือแม้แต่ PHP มันก็เลยทำให้ไม่คุ้นเคย และต้องมาเริ่มศึกษารูปแบบกันใหม่หมด (Geek บางท่านอ่านแล้วอาจจะบอกว่า เขียนโปรแกรมไม่ควรยึดติดกับภาษา...ใช่ครับ แต่นี่คือนักศึกษาปี 1 ที่ไม่ได้เก่งมาจากที่ไหนกันทุกคนครับ) ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้เนื้อหาในรายวิชานั้นต้องช้าลงไปอีก ..ตรงนี้ผมผิดเต็มๆ ครับ
3. ตลาดไม่โต
ตลาด Python ในไทยไม่ค่อยโตเท่า Java, C หรือ .NET แน่นอนครับ แค่แหล่งข้อมูลให้ศึกษาหรือดู Code เพิ่มเติมจากที่สอนก็หายากอยู่ (ถ้าไม่นับว่านักศึกษาไม่ค่อยชอบอ่าน Text Book เท่าไร) ด้วยตัวของนักศึกษาเองทำให้เขาน่าจะรู้สึกบ้างแหละว่า นี่ตูกำลังเรียนภาษาที่ไม่ค่อยมีคนใช้กันรึไง ความรู้สึกแบบนี้จะนำไปสู่อคติครับ
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ทำให้ผมต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีกครั้งในเรื่องของการเลือกภาษา ว่าถึงอย่างไร Python ก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ใช้ได้ในตอนนี้ิ สุดท้ายผมก็ต้องเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้เรียนใช้สอนกันมากที่สุด ก็คือ ภาษา C ครับ
(อาจดูเหมือนว่าผมไม่ค่อยอยากจะเอาภาษา C มาสอนเท่าไร เหตุผลได้อธิบายไปแล้วในตอนที่ 017 อ่านได้จาก Link ด้านบนครับ)
แต่เดี๋ยวก่อน...นิสัยขบถแหกกฏตลอดของผมมันยังไม่ยอมแพ้ ไหนๆ ก็ต้องใช้ภาษา C แล้ว ไม่อยากเหมือนใคร เหอๆๆๆๆๆๆๆ
ปกติแล้ว C Compiler ที่นิยมใช้สอนกันมากที่สุดในคลาสสอนภาษา C ก็คือ Turbo C / Turbo C++ ใช่ไหมครับ ..แต่ผมจะไม่ใช้อ่ะ ทั้งๆ ที่ตอนผมเรียนปี 1 ผมก็ใช้ Turbo C++ 3.0 แต่ตอนนั้นเครื่องที่ใช้เรียนเป็นเครื่องโบราณ ติดตั้ง Windows 98 การใช้ Turbo C++ ก็ถือว่าสมเหตุสมผลที่สุดแล้วครับ แต่ว่าห้องเรียนที่ผมจะใช้สอนในเทอมนี้ มันเป็นเครื่อง Lenovo ใหม่เอี่ยม สเป็คหรู แถมจอยังเป็น Wide Screen อีก
หน้าจอของ Turbo C++ มันล้นขอบ Monitor ครับ...(ฮา)
เรื่องหน้าจอมันเรื่องเล็กน้อยครับ แต่จริงๆ แล้วที่ไม่อยากใช้ Turbo C++ เพราะ ไม่อยากให้นักศึกษายึดติดกับ Tools หรือ IDE ครับ ว่าถ้าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C แล้วต้องมี Turbo C++ (ซึ่งทุกวันนี้นักศึกษาที่นี่ส่วนใหญ่เป็นกันอยู่) อยากให้เห็นว่า ขอแค่มี C Compiler คุณจะอยู่ในสภาพแวดล้อมไหนก็ต้องเขียน C ได้
ในใจก็อยากจะเปลี่ยนไปใช้ gedit เขียน แล้วเอา gcc Compile บน Ubuntu ซะเลย (เครื่องในห้องนี้มี Ubuntu ด้วยครับ) ก้เกรงว่าจะแหกคอกเกินจนอาจทำให้ตกงานได้ ผมก็เลยพยายามหา C Compiler ที่ไม่ใช่ Turbo C++ แต่ยังต้องเขียนโปรแกรมเบื้องต้นได้ คุณสมบัติควรจะคล้ายกันมากที่สุด
เปิด Wikipedia แล้วก็ลองไปทีละตัวครับ
แน่นอนผมไม่รู้จักทุกตัวหรอกครับ ตอนเรียน ป.โท ปี 1 อ.ฝงแนะนำให้ใช้ djgpp ซึ่งมันเท่มาก! แต่ติดตั้งยากเย็นแสนสาหัส และผมคิดว่ามันไม่ค่อยสะดวกเท่าไรหากเราจะสร้าง Environment สำหรับเขียนโปรแกรม (กว่าจะได้เขียนก็ลำบากยากหนักหนา 555) อยากใช้ gcc ก็ไม่มีบน Windows Platforms (พอไปขวนขวายถึง Cygwin หรือ Mingw ผมก็รู้สึกว่าผมกำลังหลงประเด็น) อ.แมนแนะนำให้ใช้ Microsoft Visual Studio.NET เขียน ซึ่งผมว่าช้างตัวนี้มัน Cost สูงไปหน่อยถ้าจะเอาไปจับตั๊กแตนอะนะ (และสุดท้าย อ.แมนก็เห็นด้วย) หาไปหามาจนปวดลูกตาหมดแล้ว สุดท้ายก็ไปถูกใจตัวนี้ครับ...
Tiny C Compiler (ต่อไปจะขอเรียกว่า TCC)
TCC เป็น C Compiler ขนาดจิ๋วมาก และก็ Compile ได้แต่ภาษา C เท่านั้นด้วย (ไม่สามารถ Compile C++ ได้ ซึ่งผมก็ไม่ได้สอนถึงอยู่แล้ว) Download ตัว Zip มาแค่ 280 Kb และ Extract ใช้ได้เลย ไปกำหนด System Path กับ Environment Variables นิดหน่อยก็เวิร์คแล้ว แถมทำงานได้เร็วอีก
วิธีการอาจจะแตกต่างจาก Turbo C++ ที่มี IDE ในตัวนิดนึง ลองอธิบายให้ดูแบบคร่าวๆ ดังนี้ครับ :
1. เขียน Source Code ภาษา C ขึ้นมาโดยใช้ Text Editor ซักตัว (จะใช้ Notepad, EditPlus, Notepad++ หรือ ฯลฯ ก็ว่าไป) Save เป็นไฟล์นามสกุล .c
C:\code\hello_world.c
2. สั่ง Compile Source Code ด้วยคำสั่ง
C:\code>tcc hello_world.c
3. จะได้ไฟล์ Executable มา เรียกทดสอบได้เลย
C:\code>hello_world.exe
การ Compile และ Run ในข้อ 2-3 ทำใน Command Prompt (cmd) ครับ ...เท่แบบนี้แหละชอบที่สุดเลย
Homepage ของ TCC ครับ
พรุ่งนี้เช้าก็จะได้สอนวิชานี้เป็นครั้งแรกแล้วครับ แต่คงยังไม่ได้เขียนโปรแกรมเลย น่าจะ Intro ซัก 2 ครั้งแล้วถึงจะเริ่มเขียนโปรแกรม แต่ในที่สุดก็คือ ผมก็ยังไม่รู้ว่านักศึกษากลุ่มนี้เป็นยังไง เมื่อถึงเวลาสอนจริง TCC อาจจะไม่ได้ดั่งใจก็ได้ ผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน แต่ยังไงก็ต้องลองดูละครับ.
16 มิถุนายน 2552
095 | Facebook Style สังเกตการใช้งาน Facebook ของคนทั่วไป
วันนี้มาเขียนบทความแบบแปลกๆ บ้างครับหลังจากที่เอาแต่ Review Application มาซะนาน
เรื่องของเรื่องก็คือ ผมลองสังเกต Style การใช้งานของผู้ใช้ Facebook รอบๆ ตัวแล้ว พบว่า มีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย เช่น การกรอกข้อมูล การกำหนด Policy ต่างๆ ซึ่งอย่างที่เราพอรู้กันมาบ้างแล้วว่า Facebook เป็น Online Social Network ที่ค่อนข้างออกแนวจริงจังพอสมควร คือเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นตัวตนจริงๆ และการกำหนดขอบเขตการเข้าดูข้อมูลจากเพื่อนๆ
ดังนั้นผมเลยลองสรุปดูว่า ผู้ใช้ Facebook แบบทั่วๆ ไปเนี่ยเขามี Style ในการใช้งานอย่างไรบ้าง อาจจะผิดๆ ถูกๆ บ้างก็ลองอ่านดูนะครับ
1. การใช้ชื่อ-นามสกุลจริงใน Profile
ปกติแล้วคนที่ใช้ Facebook จะอยู่ในกลุ่มที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไปจนถึงวัยทำงาน (อ้างอิงจากบทความเกี่ยวกับ Facebook ในหนังสือหลายๆ เล่มครับ) ดังนั้นการใช้งานจึงค่อนข้างจริงจังอยู่ อย่างน้อยๆ การใช้ชื่อจริง นามสกุลจริงใน Profile ก็จะช่วยให้รู้สึกว่า ผู้ใช้คนนี้มี Facebook ไว้เพื่อใช้ประโยชน์จริงๆ มากกว่าจะเปิดไว้เล่นๆ ครับ
ยกตัวอย่างจากตัวผมเอง เมื่อก่อนเวลาเล่น Hi5 เจอใคร Add มาก็รับหมด ตอนแรกๆ ก็พอรู้ตัวตนบ้างว่าใครเป็นใคร แต่พอ Friend List เยอะขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่าคนที่ผมรู้จักจริงๆ ในนั้นมีอยู่น้อยมากๆ (เหมือนกับที่มีคนเคยพูดถึงการใช้งาน Online Social Network ของคนไทยว่าเน้นสถิติเป็นหลัก เช่น จำนวนเพื่อน จำนวน Comment เป็นต้น) พอเล่นไปนานๆ ก็รู้สึกว่ามันไร้สาระเสียเหลือเกินครับ
ตัวอย่างการตั้งชื่อใน Hi5 ครับ พอจะรู้ไหมว่าใครเป็นใคร ?
ดังนั้นพอมาใช้ Facebook ผมก็เลยค่อนข้างเลือกนิดนึงครับเพราะไม่อยากไป Add คนที่ไม่รู้จัก (นอกจากว่าอยากทำความรู้จักจริงๆ) อันดับแรกผมดูที่ชื่อก่อนครับ ถ้าเป็นชื่อคนรู้จักก็ Add เลยไม่มีปัญหา แต่ถ้าชื่อไม่รู้จัก หรือชื่อแปลกๆ เช่น มันทิ้งกรู, Hana Jung, ความรักคืออะราย ฯลฯ (มั่วเอานะครับ) ผมไม่กล้ารับ Add ครับ เพราะไม่รู้ว่าเป็นใคร และเขามาใช้ Facebook และ Add เราเพื่ออะไร
2. การใช้ภาพตัวเองใน Profile Picture
ส่วนใหญ่เวลาดู Facebook ของฝรั่งเขาจะใช้รูปตัวเองเป็น Profile Picture นะครับ ผมคิดว่าคงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องเอารูปคนอื่น หรือรูปอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเลย (เช่นรูปการ์ตูน) มาให้คนที่ต้องการรู้ว่าเราเป็นใครได้เห็น ซึ่ง Style การเอารูปอื่นมาใส่เป็น Profile Picture เนี่ยมันมีมานานแล้วครับ เอาแค่สมัย MSN ก็ได้ แล้วที่มาเยอะๆ กันจริงๆ เลยก็คงเป็น Hi5 นี่แหละครับ (แต่ช่วงหลังนี้คนใช้ Hi5 เอารูปตัวเองขึ้นก็เยอะนะครับ โดยเฉพาะสาวๆ แบ๊วๆ :o ) การนำรูปตัวเองใส่ Profile Picture มันก็ดีตรงความน่าเชื่อถืออีกนั่นแหละครับ
ลองดู Profile Picture ของคนที่มีตัวตนจริงๆ กับคนที่ไม่เห็นหน้าตาจริงๆ สิครับ แล้วลองเปรียบเทียบความรู้สึกดู
3. การให้ข้อมูลทั่วไป
บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องของ Policy ที่บางทีก็ไม่อยากให้คนทั่วๆ ไปมาดู Information ของเราได้ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคนครับ แต่ทุกวันนี้ผมสังเกตจาก Friend List ของเพื่อนๆ ผมที่ Add ไว้ ผมพบว่าส่วนใหญ่ไม่นิยมปิดบัง Information ครับ บางคนเปิดเผยทุกอย่างในชีวิตตั้งแต่วันเดือนปีเกิด, สถานศึกษา, ประวัติการทำงาน ฯลฯ แบบนี้ก็มี อย่างนี้หมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่าพวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับ Policy หรือ ?
ผมคิดว่าคงไม่หรอกครับ เพราะเท่าที่สังเกตดู พวกข้อมูลที่ Facebook ให้กรอก เช่น Basic Information, Education and Work และ Contact Information ข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องปิดบัง "อย่างยิ่ง" เลย (ยกเว้นในกรณีที่ต้องการความเป็นส่วนตัว คุณก็เลือกที่จะกรอกหรือไม่ก็ได้ หรือจะกำหนด Policy ก็ได้อีก) ในอีกทางหนึ่งผมว่ามันให้ผลดีเสียอีก ในแง่ที่ทำให้เรารู้จักคนๆ นั้นมากขึ้น นอกเหนือจากชื่อและหน้าตาของเขา
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผมมี Friend Suggestion ที่ระบบจะหามาให้ดูว่าผมอาจจะรู้จักคนเหล่านี้ บางคนระบบก็จะบอกให้ว่า เขาจบที่เดียวกับคุณ, เขาเคยทำงานที่เดียวกับคุณ อะไรประมาณนี้ แต่บางคนก็ไม่ได้บอกเลยว่า Suggestion มาได้ยังไง ในกรณีนี้ผมก็จะไปดู Information ของเขาครับ และมันก็ทำให้ผมรู้จักคนๆ นั้นมากขึ้น ได้รู้ว่าเขา "น่าจะ" เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร (ผมเจอรายชื่อลูกศิษย์ผมใน Friend Suggestion ประจำ โดยที่ตอนแรกผมจำชื่อไม่ได้, จำหน้าไม่ค่อยได้ แต่พอดู Information แล้วถึงรู้ว่าเป็นใคร :P )
ตัวอย่าง Information ที่เปิดเผยสุดๆ ของผู้ใช้คนหนึ่งที่ผมบังเอิญไปเจอ
เท่าที่เห็นชัดสุดๆ ตอนนี้ก็คงมีประมาณนี้แหละครับ (ถ้ามีอีกเดี๋ยวก็คงมาเขียนต่อ 5555+)
สุดท้ายก็อยากจะขอรณรงค์ว่า เรามาใช้ชื่อจริง-ภาพจริงใน Facebook กันดีกว่านะครับ ตัวตนของเรา ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเราเปิดเผยได้ ในโลกของ Facebook ก็ไม่มีอะไรน่าอายครับ
บทความต่อไปจะมาเขียนถึงพฤติกรรมเด็กไทยใน Hi5 ที่ระบาดมาถึง Facebook ครับ
(เผยแพร่ครั้งแรกใน http://www.thaifacebook.in.th เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 : อ้างอิง)
เรื่องของเรื่องก็คือ ผมลองสังเกต Style การใช้งานของผู้ใช้ Facebook รอบๆ ตัวแล้ว พบว่า มีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย เช่น การกรอกข้อมูล การกำหนด Policy ต่างๆ ซึ่งอย่างที่เราพอรู้กันมาบ้างแล้วว่า Facebook เป็น Online Social Network ที่ค่อนข้างออกแนวจริงจังพอสมควร คือเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นตัวตนจริงๆ และการกำหนดขอบเขตการเข้าดูข้อมูลจากเพื่อนๆ
ดังนั้นผมเลยลองสรุปดูว่า ผู้ใช้ Facebook แบบทั่วๆ ไปเนี่ยเขามี Style ในการใช้งานอย่างไรบ้าง อาจจะผิดๆ ถูกๆ บ้างก็ลองอ่านดูนะครับ
1. การใช้ชื่อ-นามสกุลจริงใน Profile
ปกติแล้วคนที่ใช้ Facebook จะอยู่ในกลุ่มที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไปจนถึงวัยทำงาน (อ้างอิงจากบทความเกี่ยวกับ Facebook ในหนังสือหลายๆ เล่มครับ) ดังนั้นการใช้งานจึงค่อนข้างจริงจังอยู่ อย่างน้อยๆ การใช้ชื่อจริง นามสกุลจริงใน Profile ก็จะช่วยให้รู้สึกว่า ผู้ใช้คนนี้มี Facebook ไว้เพื่อใช้ประโยชน์จริงๆ มากกว่าจะเปิดไว้เล่นๆ ครับ
ยกตัวอย่างจากตัวผมเอง เมื่อก่อนเวลาเล่น Hi5 เจอใคร Add มาก็รับหมด ตอนแรกๆ ก็พอรู้ตัวตนบ้างว่าใครเป็นใคร แต่พอ Friend List เยอะขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่าคนที่ผมรู้จักจริงๆ ในนั้นมีอยู่น้อยมากๆ (เหมือนกับที่มีคนเคยพูดถึงการใช้งาน Online Social Network ของคนไทยว่าเน้นสถิติเป็นหลัก เช่น จำนวนเพื่อน จำนวน Comment เป็นต้น) พอเล่นไปนานๆ ก็รู้สึกว่ามันไร้สาระเสียเหลือเกินครับ
ตัวอย่างการตั้งชื่อใน Hi5 ครับ พอจะรู้ไหมว่าใครเป็นใคร ?
ดังนั้นพอมาใช้ Facebook ผมก็เลยค่อนข้างเลือกนิดนึงครับเพราะไม่อยากไป Add คนที่ไม่รู้จัก (นอกจากว่าอยากทำความรู้จักจริงๆ) อันดับแรกผมดูที่ชื่อก่อนครับ ถ้าเป็นชื่อคนรู้จักก็ Add เลยไม่มีปัญหา แต่ถ้าชื่อไม่รู้จัก หรือชื่อแปลกๆ เช่น มันทิ้งกรู, Hana Jung, ความรักคืออะราย ฯลฯ (มั่วเอานะครับ) ผมไม่กล้ารับ Add ครับ เพราะไม่รู้ว่าเป็นใคร และเขามาใช้ Facebook และ Add เราเพื่ออะไร
2. การใช้ภาพตัวเองใน Profile Picture
ส่วนใหญ่เวลาดู Facebook ของฝรั่งเขาจะใช้รูปตัวเองเป็น Profile Picture นะครับ ผมคิดว่าคงไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องเอารูปคนอื่น หรือรูปอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเลย (เช่นรูปการ์ตูน) มาให้คนที่ต้องการรู้ว่าเราเป็นใครได้เห็น ซึ่ง Style การเอารูปอื่นมาใส่เป็น Profile Picture เนี่ยมันมีมานานแล้วครับ เอาแค่สมัย MSN ก็ได้ แล้วที่มาเยอะๆ กันจริงๆ เลยก็คงเป็น Hi5 นี่แหละครับ (แต่ช่วงหลังนี้คนใช้ Hi5 เอารูปตัวเองขึ้นก็เยอะนะครับ โดยเฉพาะสาวๆ แบ๊วๆ :o ) การนำรูปตัวเองใส่ Profile Picture มันก็ดีตรงความน่าเชื่อถืออีกนั่นแหละครับ
ลองดู Profile Picture ของคนที่มีตัวตนจริงๆ กับคนที่ไม่เห็นหน้าตาจริงๆ สิครับ แล้วลองเปรียบเทียบความรู้สึกดู
3. การให้ข้อมูลทั่วไป
บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องของ Policy ที่บางทีก็ไม่อยากให้คนทั่วๆ ไปมาดู Information ของเราได้ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคนครับ แต่ทุกวันนี้ผมสังเกตจาก Friend List ของเพื่อนๆ ผมที่ Add ไว้ ผมพบว่าส่วนใหญ่ไม่นิยมปิดบัง Information ครับ บางคนเปิดเผยทุกอย่างในชีวิตตั้งแต่วันเดือนปีเกิด, สถานศึกษา, ประวัติการทำงาน ฯลฯ แบบนี้ก็มี อย่างนี้หมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่าพวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับ Policy หรือ ?
ผมคิดว่าคงไม่หรอกครับ เพราะเท่าที่สังเกตดู พวกข้อมูลที่ Facebook ให้กรอก เช่น Basic Information, Education and Work และ Contact Information ข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องปิดบัง "อย่างยิ่ง" เลย (ยกเว้นในกรณีที่ต้องการความเป็นส่วนตัว คุณก็เลือกที่จะกรอกหรือไม่ก็ได้ หรือจะกำหนด Policy ก็ได้อีก) ในอีกทางหนึ่งผมว่ามันให้ผลดีเสียอีก ในแง่ที่ทำให้เรารู้จักคนๆ นั้นมากขึ้น นอกเหนือจากชื่อและหน้าตาของเขา
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผมมี Friend Suggestion ที่ระบบจะหามาให้ดูว่าผมอาจจะรู้จักคนเหล่านี้ บางคนระบบก็จะบอกให้ว่า เขาจบที่เดียวกับคุณ, เขาเคยทำงานที่เดียวกับคุณ อะไรประมาณนี้ แต่บางคนก็ไม่ได้บอกเลยว่า Suggestion มาได้ยังไง ในกรณีนี้ผมก็จะไปดู Information ของเขาครับ และมันก็ทำให้ผมรู้จักคนๆ นั้นมากขึ้น ได้รู้ว่าเขา "น่าจะ" เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร (ผมเจอรายชื่อลูกศิษย์ผมใน Friend Suggestion ประจำ โดยที่ตอนแรกผมจำชื่อไม่ได้, จำหน้าไม่ค่อยได้ แต่พอดู Information แล้วถึงรู้ว่าเป็นใคร :P )
ตัวอย่าง Information ที่เปิดเผยสุดๆ ของผู้ใช้คนหนึ่งที่ผมบังเอิญไปเจอ
เท่าที่เห็นชัดสุดๆ ตอนนี้ก็คงมีประมาณนี้แหละครับ (ถ้ามีอีกเดี๋ยวก็คงมาเขียนต่อ 5555+)
สุดท้ายก็อยากจะขอรณรงค์ว่า เรามาใช้ชื่อจริง-ภาพจริงใน Facebook กันดีกว่านะครับ ตัวตนของเรา ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเราเปิดเผยได้ ในโลกของ Facebook ก็ไม่มีอะไรน่าอายครับ
บทความต่อไปจะมาเขียนถึงพฤติกรรมเด็กไทยใน Hi5 ที่ระบาดมาถึง Facebook ครับ
(เผยแพร่ครั้งแรกใน http://www.thaifacebook.in.th เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 : อ้างอิง)
15 มิถุนายน 2552
094 | SciCamp#1 ตอนที่ 3 : วันจริง
หลังจากยุ่งกับงานเข้ามาหลายวันก็ได้เวลามาอัพรูปให้ชมกันเสียทีครับ กับภาพวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมาในกิจกรรม "SciCamp#1" วันจริง
กำลังเขียนบอร์ดงานครับ (เล่นกันแบบประหยัดงบ)
ของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ขึ้นพูดทุกคน
กำลังอธิบายกติกา
... แล้วก็เริ่มคุยกันเลย !!!
คนนี้พูดเรื่อง "ชีวิตกับการเล่น Hi5" เล่าถึงเรื่องของเพื่อนที่โดนคนเอา Hi5 มาเป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายกลั่นแกล้งกัน น่าสนใจดีมากครับ
กรรมการก็ Discuss เนื้อหากันอย่างสนุกสนาน
คนนี้มาสอนวิธีตำส้มตำ กับเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับส้มตำที่เราไม่ค่อยจะรู้กัน
คนดูก็ฮากันไป
คนนี้มาอธิบายเรื่อง "ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน" ในแนวปรัชญา
พอสรุปคะแนนมาแล้ว เรื่องที่ได้รับรางวัลที่ 1 ก็ได้แก่เรื่อง "ชีวิตกับการเล่น Hi5" ครับ
ได้เสื้อ thaifacebook (First Edition) ไปครอบครองซะเลย (จะใส่ได้ไหมเนี่ย)
กิจกรรมครั้งนี้ ภาพรวมก็ถือว่าสนุกสนานกันดีครับ กำลังวางแผนกันว่าเดือนหน้าจะจัดอีก แต่คงต้องจำกัด Domain หน่อยนึงไม่งั้นหัวข้อคงออกทะเลไปมากมาย 5555+
กำลังเขียนบอร์ดงานครับ (เล่นกันแบบประหยัดงบ)
ของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ขึ้นพูดทุกคน
กำลังอธิบายกติกา
... แล้วก็เริ่มคุยกันเลย !!!
คนนี้พูดเรื่อง "ชีวิตกับการเล่น Hi5" เล่าถึงเรื่องของเพื่อนที่โดนคนเอา Hi5 มาเป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายกลั่นแกล้งกัน น่าสนใจดีมากครับ
กรรมการก็ Discuss เนื้อหากันอย่างสนุกสนาน
คนนี้มาสอนวิธีตำส้มตำ กับเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับส้มตำที่เราไม่ค่อยจะรู้กัน
คนดูก็ฮากันไป
คนนี้มาอธิบายเรื่อง "ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน" ในแนวปรัชญา
พอสรุปคะแนนมาแล้ว เรื่องที่ได้รับรางวัลที่ 1 ก็ได้แก่เรื่อง "ชีวิตกับการเล่น Hi5" ครับ
ได้เสื้อ thaifacebook (First Edition) ไปครอบครองซะเลย (จะใส่ได้ไหมเนี่ย)
กิจกรรมครั้งนี้ ภาพรวมก็ถือว่าสนุกสนานกันดีครับ กำลังวางแผนกันว่าเดือนหน้าจะจัดอีก แต่คงต้องจำกัด Domain หน่อยนึงไม่งั้นหัวข้อคงออกทะเลไปมากมาย 5555+
04 มิถุนายน 2552
093 | SciCamp#1 ตอนที่ 2 : เริ่มโหวต !!!
เพิ่งไปถ่ายภาพมาเมื่อกี้เลยครับ มีนักศึกษาปี 1 เริ่มให้ความสนใจมาโหวตกันบ้างแล้ว
แตกตื่น...มันคืออะไีรกันนี่ ???
โหวตแล้วจ้า
ช่วงเปิดโหวตจะมีตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน ครับ
แตกตื่น...มันคืออะไีรกันนี่ ???
โหวตแล้วจ้า
ช่วงเปิดโหวตจะมีตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน ครับ
092 | เสื้อ thaifacebook (First Edition)
โครงการทำเสื้อคุยกันเล่นๆ มานานแล้วครับ แต่ไม่ได้คิดจะทำจริง แล้วจู่ๆ ก็นึกอยากขึ้นมา แล้วก็ออกแบบ ไปร้าน สั่งทำเลย (อ้าว) จุดประสงค์จริงๆ คืออยากมีไว้ใส่เล่นอะครับ
ก่อนอื่น เราหาร้านที่จะไปทำก่อน เราได้ข้อมูลมาว่า เสื้อปักถ้าทำน้อยๆ จะแพง เราลองออกแบบและไปถามที่ร้านเพื่อดูราคาก่อน ปรากฏว่าได้ราคาปักตัวละ 35 บาท ซึ่งอยู่ในระดับที่พอยอมรับได้
กำลังออกแบบโลโก้ที่จะเอาไปปักบนเสื้อ
แบบโลโก้ที่เอาไปให้ที่ร้านปัก ใช้ด้าย 4 สีคือ ฟ้าอ่อน ฟ้าเข้ม ดำ เทา
พอได้ราคาปักแล้ว เราก็หาเสื้อที่จะเอามาปัก ผมอยากได้เสื้อสีขาวพื้นแบบไม่มีลายอื่น แต่ดูจากเสื้อที่ร้านปักแล้วไม่ค่อยพอใจคุณภาพของเนื้อผ้าเท่าไรนัก ก็เลยตกลงกันว่าจะไปหาซื้อมาเองละกัน
ตระเวนหาอยู่หลายวันก็ไม่เจอที่ต้องการซักที จนสุดท้ายลองไปดูเสื้อ Copy ที่ตลาดผ้าริมน้ำตอนกลางวัน ก็ได้แบบที่ถูกใจเลย ก็คือเสื้อ POLO แบบเหมือนเด๊ะ เนื้อผ้าค่อนข้างดี เสียดายที่มีโลโก้ POLO เล็กๆ บนหน้าอก แต่ก็ไม่ถึงกับน่าเกลียดนักก็เลยเอาแบบนี้เลย ราคาตัวละ 140 บาท เราซื้อกันมา 5 ตัว ของผม 2 ตัว ของ อจ.โอม 2 ตัว ส่วนอีกตัวที่เหลือเราหารกันซื้อเพื่อให้เป็นของรางวัลในกิจกรรม SciCamp ของคณะครับ
เสื้อที่ซื้อมาเพื่อปัก เห็นตรา POLO เล็กๆ
ทิ้งไว้ที่ร้านปัก 5 วัน จนกระทั่งไปรับเสื้อที่ปักเสร็จเรียบร้อยมาเมื่อวาน สภาพเป็นดังรูปครับ
เสื้อขาว 4 ตัว และเสื้อฟ้า 1 ตัว ของ อจ.โอม (Rare Item)
จับ อจ.โอมเป็นพรีเซนเตอร์เสื้อใหม่ซะเลย
รวมแล้วเสื้อ 1 ตัว ราคาเบ็ดเสร็จ 175 บาทครับ ...ไม่แพงอย่างที่คิด แถมออกมาถูกใจมากด้วยแหละ
สรุปว่าเสื้อรุ่นแรก (First Edition) นี้ทำขึ้นมาใส่เล่นกันเองครับ ส่วนถ้าสมาชิก thaifacebook สนใจอยากได้บ้าง อาจจะมีให้จองกันในอนาคตอันใกล้นี้ครับ เพราะตอนนี้มีสมาชิกหลายคนสนใจจะสั่งจองไว้บ้างแล้ว ถ้าได้จำนวนเยอะๆ เราก็จะไปสั่งทำทีเดียวจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้อีกครับ
(คุยกับ อจ.โอมเล่นๆ ไว้ว่าอยากทำอย่างอื่นด้วย เช่น หมวก แก้วน้ำ ฯลฯ เอาให้เป็นแบบ Mozilla Store เลย ...โครงการบ้าบอมาก 5555)
ก็ถือว่าเ้ป็น Items ทำสนุกๆ ของพวกเรา thaifacebook ละกันนะครับ
ก่อนอื่น เราหาร้านที่จะไปทำก่อน เราได้ข้อมูลมาว่า เสื้อปักถ้าทำน้อยๆ จะแพง เราลองออกแบบและไปถามที่ร้านเพื่อดูราคาก่อน ปรากฏว่าได้ราคาปักตัวละ 35 บาท ซึ่งอยู่ในระดับที่พอยอมรับได้
กำลังออกแบบโลโก้ที่จะเอาไปปักบนเสื้อ
แบบโลโก้ที่เอาไปให้ที่ร้านปัก ใช้ด้าย 4 สีคือ ฟ้าอ่อน ฟ้าเข้ม ดำ เทา
พอได้ราคาปักแล้ว เราก็หาเสื้อที่จะเอามาปัก ผมอยากได้เสื้อสีขาวพื้นแบบไม่มีลายอื่น แต่ดูจากเสื้อที่ร้านปักแล้วไม่ค่อยพอใจคุณภาพของเนื้อผ้าเท่าไรนัก ก็เลยตกลงกันว่าจะไปหาซื้อมาเองละกัน
ตระเวนหาอยู่หลายวันก็ไม่เจอที่ต้องการซักที จนสุดท้ายลองไปดูเสื้อ Copy ที่ตลาดผ้าริมน้ำตอนกลางวัน ก็ได้แบบที่ถูกใจเลย ก็คือเสื้อ POLO แบบเหมือนเด๊ะ เนื้อผ้าค่อนข้างดี เสียดายที่มีโลโก้ POLO เล็กๆ บนหน้าอก แต่ก็ไม่ถึงกับน่าเกลียดนักก็เลยเอาแบบนี้เลย ราคาตัวละ 140 บาท เราซื้อกันมา 5 ตัว ของผม 2 ตัว ของ อจ.โอม 2 ตัว ส่วนอีกตัวที่เหลือเราหารกันซื้อเพื่อให้เป็นของรางวัลในกิจกรรม SciCamp ของคณะครับ
เสื้อที่ซื้อมาเพื่อปัก เห็นตรา POLO เล็กๆ
ทิ้งไว้ที่ร้านปัก 5 วัน จนกระทั่งไปรับเสื้อที่ปักเสร็จเรียบร้อยมาเมื่อวาน สภาพเป็นดังรูปครับ
เสื้อขาว 4 ตัว และเสื้อฟ้า 1 ตัว ของ อจ.โอม (Rare Item)
จับ อจ.โอมเป็นพรีเซนเตอร์เสื้อใหม่ซะเลย
รวมแล้วเสื้อ 1 ตัว ราคาเบ็ดเสร็จ 175 บาทครับ ...ไม่แพงอย่างที่คิด แถมออกมาถูกใจมากด้วยแหละ
สรุปว่าเสื้อรุ่นแรก (First Edition) นี้ทำขึ้นมาใส่เล่นกันเองครับ ส่วนถ้าสมาชิก thaifacebook สนใจอยากได้บ้าง อาจจะมีให้จองกันในอนาคตอันใกล้นี้ครับ เพราะตอนนี้มีสมาชิกหลายคนสนใจจะสั่งจองไว้บ้างแล้ว ถ้าได้จำนวนเยอะๆ เราก็จะไปสั่งทำทีเดียวจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้อีกครับ
(คุยกับ อจ.โอมเล่นๆ ไว้ว่าอยากทำอย่างอื่นด้วย เช่น หมวก แก้วน้ำ ฯลฯ เอาให้เป็นแบบ Mozilla Store เลย ...โครงการบ้าบอมาก 5555)
ก็ถือว่าเ้ป็น Items ทำสนุกๆ ของพวกเรา thaifacebook ละกันนะครับ
091 | SciCamp#1 ตอนที่ 1 : วางแผน
SciCamp เป็นกิจกรรมที่ผมกับ อจ.โอม คิดวางแผนกันขึ้นมา โดยมีที่มาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วที่เคยคุยกันไว้ว่า อยากจะให้มีกิจกรรมสำหรับนักศึกษา ที่คล้ายๆ กับการสัมมนา แต่ไม่ต้องเป็นทางการมากนัก ให้นักศึกษา อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ, ผู้สนใจอื่นๆ เข้ามาร่วมพูดคุยกัน โดยอาจจะกำหนดให้มีคนตั้ง Topic ที่จะคุยซัก 1 เรื่อง แล้วให้คนนั้นเริ่มบรรยายก่อน และเมื่อบรรยายเสร็จก็จะให้ผู้เข้าชมคนอื่นๆ พูดคุย สอบถาม หรือเสริมเนื้อหาเพิ่มเติมจากหัวข้อนั้นๆ ที่คิดอยากจัดกิจกรรมแบบนี้เพราะว่า อยากให้นักศึกษาของเราได้เปิดโลกทัศน์ ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงการไอทีบ้าง และอาจจะช่วยให้นักศึกษาได้มีกิจกรรมที่แสดงออกทางด้านวิชาการบ้างนอกจากออกค่าย (เราเรียกโครงการนี้เล่นๆ ว่า BarCamp เลียนแบบกิจกรรม UnConference ของชาวไอทีที่จัดกันอย่างแพร่หลาย เพราะเราไม่รู้จะตั้งชื่อกิจกรรมว่าอย่างไรเลยเอาชื่อเขามาเรียกแก้ขัดไปซะอย่างนั้น) โครงการนี้อยู่ในหัวมานานโดยที่ไม่เคยหยิบเอามาทำกันจริงๆ ซักที
จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้ประชุมกันเรื่องกิจกรรมเข้าค่ายปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาปี 1 คณะวิทย์ ซึ่งจัดกันทุกปีในช่วงก่อนเปิดเทอม โดยรูปแบบจะเป็นการนำเด็กปี 1 ไปอยู่ค่ายร่วมกัน และในแต่ละวันจะมีการอบรมปรับความรู้พื้นฐานในรายวิชาของวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โดยอาจารย์ในคณะจะเป็นผู้สอนเอง กิจกรรมอบรมจะสลับกันไปกับกิจกรรมรับน้องของรุ่นพี่ๆ ในปีก่อนๆ เราไปขอสถานที่ในค่ายทหารในการจัดกิจกรรม และได้ทางครูฝึกทหารมาช่วยเป็นวิทยากรดูแลให้ แต่ในปีนี้ได้ย้ายสถานที่มาจัดในมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสะดวกมากกว่าในการใช้ห้องบรรยาย หรือห้องจัดกิจกรรม
อจ.โอมชวนผมว่า เรามาเสนอจัด BarCamp ที่เราเคยคุยกันไว้ดีกว่า ผมเห็นด้วยและเราก็เสนอไปว่าอยากจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าค่าย ...ซึ่งทางคณะก็อนุญาต (เย้ๆๆๆๆ)
หลังจากนั้นเราก็ต้องมาคิดรูปแบบกิจกรรมกัน โดยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขดังนี้
- กิจกรรมนี้จัดให้สำหรับเด็กปี 1 เท่านั้น
- ระยะเวลาในการทำกิจกรรมมีประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที
- ใช้งบประมาณให้น้อยๆ ไว้ก่อน (จะได้รู้ว่ากิจกรรมนี้ลงทุนต่ำ)
เราตกลงกันว่า กิจกรรมแบบนี้จะเรียกว่า BarCamp คงไม่ได้ เพราะแทบจะไม่มีอะไรที่คล้ายกันเลย (นอกจากการจัดงานแบบไม่ทางการ และหัวข้อที่จะพูดอะไรก็ได้) ก็เลยโหวตตั้งชื่อใหม่กันจนได้ชื่อว่า "SciCamp" ซึ่งเราเชื่อว่าชื่อแบบนี้น่าจะสื่อความหมายได้ดีที่สุดหากจะมีการจัดโครงการต่อเนื่องในอนาคต
รูปแบบของ SciCamp ในครั้งแรกนี้ เริ่มจากการกำหนดให้นักศึกษาปี 1 (เฉพาะสาขา CS และ ICT) ส่งหัวข้อที่อยากจะพูดมาให้เรา (บังคับส่งทุกคนเพราะเรากลัวจะไม่มีใครส่ง) โดยแจ้งล่วงหน้า 4 วันให้เด็กได้คิดหัวข้อก่อน หลังจากนั้นก็เริ่มตั้งกล่องรับหัวข้อ โดยให้เวลาส่งหัวข้อ 3 วัน
พอหมดเขตส่งหัวข้อแล้วเราก็จะนำหัวข้อทั้งหมดมาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อคัดหัวข้อที่ไม่เหมาะสมออก (เช่น เรื่องเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม การเมือง) แล้วติดประกาศเพื่อให้นักศึกษาได้มาโหวตเรื่องที่เขาอยากจะฟังมากที่สุด โดยเรากำหนดให้มีระยะเวลาการโหวต 3 วัน
สุดท้ายเรื่องที่ได้รับการโหวตเยอะๆ ก็จะได้ขึ้นพูดในวันจริง ระยะเวลาในการพูดแต่ละเรื่องเรากำหนดให้เรื่องละ 5 นาที และเวลาซักถามอีก 5 นาที รวมแล้วเรื่องๆ หนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที
กล่องรับหัวข้อ ทำจากกล่อง Double A
อจ.โอม กำลังติดป้ายโหวตหัวข้อที่หน้าห้องสำนักงานสาขาฯ
รายชื่อหัวข้อทั้งหมดเพิ่งปิดรับเมื่อวาน และเมื่อได้ดูหัวข้อที่ส่งกันว่าแล้วก็ต้องฮาครับ เพราะกิจกรรมนี้เราอยากให้เน้นเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และไอที แต่เด็กๆ ส่วนใหญ่อยากพูดเรื่องการซักผ้า, การเลือกครีมทาผิว, การแปรงฟัน หรือการจีบสาว !!!???
(จริงๆ แล้วก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่ผมตื่นเต้นอยากเห็นตอนเด็กๆ พวกนี้ขึ้นพูดมากเลย คงสนุกน่าดู 555)
ในการจัดครั้งแรกนี้เราต้องการเรื่องที่ขึ้นพูดทั้งหมด 9 เรื่อง และเรื่องที่พูดและนำเสนอได้ประทับใจพวกเรามากที่สุด เราก็จะมีรางวัลใหญ่ให้ 1 รางวัล นั่นก็คือ เสื้อ thaifacebook ที่เราไปซุ่มทำกันมาครับ
เสื้อ thaifacebook ตัวที่จะแจกให้เป็นรางวัล
เรียกได้ว่างานนี้เราลงทุนลงแรงกันพอสมควร แต่เราก็คาดหวังว่ากิจกรรม SciCamp นี้จะได้รับความสนใจ และได้จัดต่อเนื่องกันไปจนเป็นกิจกรรมประจำ ผมวางแผนกันกับ อจ.โอมว่าถ้างานนี้ Success เราจะจัดกันเดือนละครั้ง โดยเริ่มแรกเราก็จะเป็น Leader ให้ก่อน และพอกิจกรรมนี้อยู่ตัวแล้ว ต่อไปมันอาจจะเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาเป็นคนจัดการทั้งหมดเลยก็ได้ และนั่นคือสิ่งที่เราต้องการครับ.
เว็บไซต์โครงการ : http://www.nsru.ac.th/computer/scicamp
02 มิถุนายน 2552
090 | Coldplay - Left Right Left Right Left
ก่อนจะพูดถึง SciCamp ขอคั่นด้วยเรื่องนี้ก่อนครับ
อัลบั้มรวมเพลงแสดงสดของ Coldplay : "Left Right Left Right Left" เปิดให้ Download ได้ฟรีจาก Official Website (คลิกที่นี่) โดยกรอก E-Mail Address และเลือกประเทศของเรา หลังจากนั้นก็ Download ได้เลยครับ และขอบอกเลยว่าแต่ละเพลงในอัลบั้มนี้ ฟังแล้ว "อิ่ม" จริงๆ ทั้ง Clocks, Viva La Vida, Fix You แต่เพลงที่ชอบที่สุดเห็นจะเป็น Glass of Water ครับ ..โคตรชอบๆๆๆ
ป.ล. จริงๆ ผม Download มาฟังได้หลายสัปดาห์แล้ว แต่ได้มาจากเว็บอื่นอีกที ไม่รู้ว่าที่ Official Site เปิดเอง สุ๊ดยอดดดดดแห่งความเท่
อัลบั้มรวมเพลงแสดงสดของ Coldplay : "Left Right Left Right Left" เปิดให้ Download ได้ฟรีจาก Official Website (คลิกที่นี่) โดยกรอก E-Mail Address และเลือกประเทศของเรา หลังจากนั้นก็ Download ได้เลยครับ และขอบอกเลยว่าแต่ละเพลงในอัลบั้มนี้ ฟังแล้ว "อิ่ม" จริงๆ ทั้ง Clocks, Viva La Vida, Fix You แต่เพลงที่ชอบที่สุดเห็นจะเป็น Glass of Water ครับ ..โคตรชอบๆๆๆ
ป.ล. จริงๆ ผม Download มาฟังได้หลายสัปดาห์แล้ว แต่ได้มาจากเว็บอื่นอีกที ไม่รู้ว่าที่ Official Site เปิดเอง สุ๊ดยอดดดดดแห่งความเท่
089 | เปิดเทอม 1/2552
เปิดเทอมไปแล้วเมื่อวานครับ แต่ไม่ได้เขียนเลยเพราะว่ายุ่งมาก
เทอมนี้สอน 4 วิชาครับ (รวม กศ.บป. 1 วิชา) ได้แก่
- ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน (Operating Systems and Application)
- การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ (Web Programming)
- ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
- หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Principle of Programming)
ก็ถือว่าเป็นวิชาที่เคยสอนแล้วเกือบทั้งหมดครับ โดยเฉพาะ Web Programming กับ Microprocessor นี่สอนติดต่้อกันมาหลายเทอมแล้ว ก็คาดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก วิชา Web Programming ก็คงสอน PHP5 + MySQL เหมือนเดิม ส่วน Microprocessor ก็คงฉายหนัง (Pirates of Silicon Valley) แล้วก็ทดลองด้วย ANALAB ส่วนทฤษฏีก็คงเป็น Pipeline-Hazard เหมือนรุ่นที่แล้ว
ที่จะแปลกไปบ้างก็คือวิชา OS and App เพราะที่ผ่านมาเคยสอนอยู่ครั้งเดียวเท่านั้น (เมื่อประมาณปี 50) ตอนนั้นสอนเน้นทฤษฏีเยอะมาก (Process, CPU Scheduling, Memory Management) และไม่ค่อยได้ทำ Lab อีก ปีนี้เลยว่าจะปรับแผนให้เน้นทำ Lab มากกว่าทฤษฏี และ OS ที่จะเอามาให้ทำ Lab กันก็แน่นอนครับ ต้องเป็น Ubuntu อยู่แล้ว ตามที่ตั้งใจไว้มานานแสนนานว่าซักวันนึงจะเอา Ubuntu ไปอยู่ในเครื่องที่ Lab ให้ได้ ..วันนี้ฝันเป็นจริงแย้ว
(ถ้าวิชานี้สอนโดยใช้ Ubuntu ได้สำเร็จ คงจะเป็นรายวิชาแรกในมหาวิทยาลัยฯ ที่นำ Linux มาใช้ในการเรียนการสอนแบบจริงๆ จังๆ โอ้วว)
วิชาที่แปลกอีกอันก็คือ Principle of Programming ถ้าเคยอ่าน Entry เก่าๆ อันนี้ ก็จะเห็นว่าผมเคยสอนวิชานี้ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน (1/2551) โดยใช้ภาษา Python ในการสอนแทนที่จะเป็นภาษา C หรือ Java เหมือนที่อาจารย์ท่านอื่นสอน โดยหวังว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่แปลกใหม่ออกไปบ้างหากไม่ยึดติดกับภาษาเดิมๆ แต่ ณ วันนี้ผลที่ได้รับคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการสอนคือประมาณ 15 ครั้ง กลับไม่เพียงพอในการที่จะนำภาษา Python มาสอนเขียนโปรแกรมในระดับที่พอจะยากขึ้นมาอีกนิด ดังนั้นสิ่งที่สอนได้ก็คือ โปรแกรมแบบง่ายๆ ที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนและมีเงื่อนไขไม่เยอะ ซึ่งโดยตัวภาษามันเองก็ทำความเข้าใจง่ายอยู่แล้ว วิชานี้เลยถูกมองว่าเป็นวิชาที่ "สอนเขียนโปรแกรมแบบง่ายๆ" ไปซะอย่างนั้น (ผมและนักศึกษามองกันเอง) ดังนั้น ปีนี้พอได้มาสอนอีกครั้ง แถมเป็นนักศึกษา กศ.บป. (ภาคเสาร์-อาทิตย์ และส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ทำงานแล้ว) ผมกำลังพิจารณาว่า อาจจะต้องปรับแผนกลับไปใช้ภาษา C ในการสอน แล้วหากมีเวลาเหลือพอก็ค่อยใช้ภาษา Python เพิ่มเติมในช่วงปลายเทอม ..หรืออาจะจะเป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง ถ้าเลือกไม่ได้จริงๆ อาจจะต้องใช้วิธีเดิม คือให้นักศึกษาเลือก (แต่ผมไม่ค่อยอยากใช้วิธีนี้แล้วอะ) เอาเป็นว่ายังมีเวลาเหลืออีก 2-3 วันที่จะตัดสินใจอะนะ
สุดสัปดาห์นี้ (วันที่ 6-7) ก็จะมีกิจกรรมเข้าค่ายของ นศ.ปี 1 อีกรอบ และในวันสุดท้ายคือวันที่ 7 ก็จะมีกิจกรรมที่ผมกับ อจ.โอมคิดมาเล่นกันเองก็คือ SciCamp เรื่องนี้จะขอเอาไว้เล่าใน Entry ต่อไปละกันนะครับ.
เทอมนี้สอน 4 วิชาครับ (รวม กศ.บป. 1 วิชา) ได้แก่
- ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน (Operating Systems and Application)
- การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ (Web Programming)
- ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)
- หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Principle of Programming)
ก็ถือว่าเป็นวิชาที่เคยสอนแล้วเกือบทั้งหมดครับ โดยเฉพาะ Web Programming กับ Microprocessor นี่สอนติดต่้อกันมาหลายเทอมแล้ว ก็คาดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก วิชา Web Programming ก็คงสอน PHP5 + MySQL เหมือนเดิม ส่วน Microprocessor ก็คงฉายหนัง (Pirates of Silicon Valley) แล้วก็ทดลองด้วย ANALAB ส่วนทฤษฏีก็คงเป็น Pipeline-Hazard เหมือนรุ่นที่แล้ว
ที่จะแปลกไปบ้างก็คือวิชา OS and App เพราะที่ผ่านมาเคยสอนอยู่ครั้งเดียวเท่านั้น (เมื่อประมาณปี 50) ตอนนั้นสอนเน้นทฤษฏีเยอะมาก (Process, CPU Scheduling, Memory Management) และไม่ค่อยได้ทำ Lab อีก ปีนี้เลยว่าจะปรับแผนให้เน้นทำ Lab มากกว่าทฤษฏี และ OS ที่จะเอามาให้ทำ Lab กันก็แน่นอนครับ ต้องเป็น Ubuntu อยู่แล้ว ตามที่ตั้งใจไว้มานานแสนนานว่าซักวันนึงจะเอา Ubuntu ไปอยู่ในเครื่องที่ Lab ให้ได้ ..วันนี้ฝันเป็นจริงแย้ว
(ถ้าวิชานี้สอนโดยใช้ Ubuntu ได้สำเร็จ คงจะเป็นรายวิชาแรกในมหาวิทยาลัยฯ ที่นำ Linux มาใช้ในการเรียนการสอนแบบจริงๆ จังๆ โอ้วว)
วิชาที่แปลกอีกอันก็คือ Principle of Programming ถ้าเคยอ่าน Entry เก่าๆ อันนี้ ก็จะเห็นว่าผมเคยสอนวิชานี้ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน (1/2551) โดยใช้ภาษา Python ในการสอนแทนที่จะเป็นภาษา C หรือ Java เหมือนที่อาจารย์ท่านอื่นสอน โดยหวังว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่แปลกใหม่ออกไปบ้างหากไม่ยึดติดกับภาษาเดิมๆ แต่ ณ วันนี้ผลที่ได้รับคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการสอนคือประมาณ 15 ครั้ง กลับไม่เพียงพอในการที่จะนำภาษา Python มาสอนเขียนโปรแกรมในระดับที่พอจะยากขึ้นมาอีกนิด ดังนั้นสิ่งที่สอนได้ก็คือ โปรแกรมแบบง่ายๆ ที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนและมีเงื่อนไขไม่เยอะ ซึ่งโดยตัวภาษามันเองก็ทำความเข้าใจง่ายอยู่แล้ว วิชานี้เลยถูกมองว่าเป็นวิชาที่ "สอนเขียนโปรแกรมแบบง่ายๆ" ไปซะอย่างนั้น (ผมและนักศึกษามองกันเอง) ดังนั้น ปีนี้พอได้มาสอนอีกครั้ง แถมเป็นนักศึกษา กศ.บป. (ภาคเสาร์-อาทิตย์ และส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ทำงานแล้ว) ผมกำลังพิจารณาว่า อาจจะต้องปรับแผนกลับไปใช้ภาษา C ในการสอน แล้วหากมีเวลาเหลือพอก็ค่อยใช้ภาษา Python เพิ่มเติมในช่วงปลายเทอม ..หรืออาจะจะเป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง ถ้าเลือกไม่ได้จริงๆ อาจจะต้องใช้วิธีเดิม คือให้นักศึกษาเลือก (แต่ผมไม่ค่อยอยากใช้วิธีนี้แล้วอะ) เอาเป็นว่ายังมีเวลาเหลืออีก 2-3 วันที่จะตัดสินใจอะนะ
สุดสัปดาห์นี้ (วันที่ 6-7) ก็จะมีกิจกรรมเข้าค่ายของ นศ.ปี 1 อีกรอบ และในวันสุดท้ายคือวันที่ 7 ก็จะมีกิจกรรมที่ผมกับ อจ.โอมคิดมาเล่นกันเองก็คือ SciCamp เรื่องนี้จะขอเอาไว้เล่าใน Entry ต่อไปละกันนะครับ.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)