คราวนี้มาดูรูปกันบ้างนะครับ
พระปรางค์เหลืองหน้าวัด ถาม นศ.ว่านี่มันสีขาวทำไมชื่อพระปรางค์เหลือง เขาบอกว่าสีขาวเพิ่งทา เมื่อก่อนเป็นสีเหลือง
นี่คือพระปรางค์เหลืององค์เดิมที่คาดว่าพังทลายไปแล้ว อยู่ข้างๆ กับพระปรางค์เหลืององค์ปัจจุบัน จากภาพที่เห็นดูเหมือนเป็นเนินดิน ตามตำนานบอกว่าเนินนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่โบราณ ห้ามคนแตะต้องเด็ดขาดมิฉะนั้นจะมีอันเป็นไป
ยืนถ่ายจากพระปรางค์เหลือง มองไปทางเินินดิน
รายละเอียดที่องค์พระปรางค์ มีรูปปั้นพวกยักษ์และอื่นๆ อยู่รอบฐาน ปั้นได้งามสุดยอด
ท่าน้ำหน้าวัด แพที่เห็นในภาพคือแพที่ ร.5 เคยเสด็จเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น ปัจจุบันแพก็ยังถูกใช้งานอยู่ (เป็นร้อยปีแล้วนะนั่น) แต่ถามจาก นศ.เห็นว่าทางวัดจะทำแพใหม่มาแทนที่เพื่อนำแพเก่าไปบูรณะ
รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาที่วัดพระปรางค์เหลืองเมื่อคราวเสด็จประพาสต้น รวมทั้งหมด 3 ครั้ง และได้พระราชทานเก๋งเรือไม้สักไว้ให้ที่วัด นี่คือสภาพเก๋งเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน คือตัวเรือผุพังไปหมดแล้ว แต่ตัวเก๋งยังดูเหมือนใหม่มากทั้งๆ ที่ผ่านมาเป็นร้อยปีแล้ว
ในวัดจะมีกุฏิหลังหนึ่งที่มีรูปปั้นเป็นเสือ สิงห์ แล้วก็ตัวอะไรไม่รู้อีกตัวหนึ่งอยู่บนหลังคา นศ.บอกว่าเป็นของหลวงพ่อเงิน (เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี เคยถวายรดน้ำมนต์ให้ ร.5) อันนี้แปลกมากครับเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน แปลกจริงๆ นะเอ้า
ข้อมูลวัดพระปรางค์เหลือง
(จากเว็บไซต์ สยามเดย์ทริป)
จากการสืบค้นหอจดหมายแห่งชาติพระราชนิพนธ์ใน ร.5 และพระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า ร. 5 ทรงเสด็จประพาสที่วัดพระปรางค์เหลืองรวม 3 ครั้ง
ในการเสด็จครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ( พ.ศ. 2449 ) ร.ศ. 125 นับเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากมีหลักฐานจากบทพระราชนิพนธ์ของ ร. 5 ทรงบันทึกการเดินทางเป็นรายวันถึงสถานที่ที่เสด็จประพาสต้นโดยละเอียด พร้อมทั้งทรงถ่ายภาพและในครั้งนี้ " หลวงพ่อเงิน " ได้ถวายการรดน้ำมนต์แด่ ร.5 ได้สมณศักดิ์เป็น " พระครูพยุหานุสาสก์ " ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรีมีชื่อทางด้านรดน้ำมนต์ " จินดามณี "
" วัดพระปรางค์เหลือง " เป็นวัดโบราณที่เก่าแก่มากวัดหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปกรได้คำนวณอายุของวัดว่าเป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นประมาณปีพุทธศักราช 2305 ซึ่งเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในอดีตที่ผ่านมาวัดมีชื่อเสียงในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทางด้านยาสมุนไพรรดน้ำมนต์และคาถาตามหลักของแผนโบราณ รวมทั้งการรักษาโรคเคล็ด ขัด ยอก และ อัมพาต โดยวิธี " เหยียบฉ่า " อย่างได้ผล
ซึ่งภายในวัด มีจุดสำคัญต่างๆ ในการตามรอยเสด็จประพาสต้น เช่น องค์พระปรางค์เหลือง วิหารหลวงพ่อโต แพที่จอดเรือสมัย ร.5 การสาธิตเหยียบฉ่า กุฏิหลวงพ่อเงิน เก๋งเรือพระราชทาน นมัสการรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
...ว่างๆ ก็ไปเที่ยวกันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น