หน้าเว็บ

30 พฤศจิกายน 2551

040 | ชีวิตที่ขาด Online Social Network ไม่ได้

ทุกวันนี้เวลาผมเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน อินเตอร์เน็ต นอกจากจะเช็ค E-Mail และอ่านข่าวตาม Blog ต่างๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาราวกับเป็นกิจวัตรประจำวันที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การเปิดดู Hi5 (http://www.hi5.com) ของตัวเอง เพื่อที่จะดูว่า วันนี้มีใครมาเม้นต์ (Comment) เราบ้าง แล้วก็จะตามไปเม้นต์ตอบให้คนโน้นคนนี้ต่อ ผมใช้เวลากับ Hi5 ประมาณ 5-10 นาทีต่อครั้ง ...และในวันๆ หนึ่งผมก็เปิดดูมันหลายครั้งเสียด้วย จนรู้สึกว่าผมกำลังจะเป็นวัยรุ่น ม.ปลาย หรืออย่างไร (555)

ผมจำได้ว่า Hi5 มีมานานมากแล้ว เมื่อก่อนเวลาเช็ค E-Mail จะมีส่งมาจาก Hi5 ประจำ เช่น xxxx invite you to join hi5 อะไรประมาณนี้ ซึ่งเมื่อก่อน Hi5 ไม่ดังนะครับ แต่พอประมาณปีสองปีที่ผ่านมา คนไทยปลุกกระแส Hi5 ขึ้นมาจนแพร่หลายและเล่นกันทั่วบ้านทั่วเมือง แม้แต่นักการเมืองชื่อดัง ดารา หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการต่างๆ ก็ยังมี Hi5 เป็นของตัวเองกันถ้วนหน้า อืม...แล้ว Hi5 มันมีข้อดียังไงละ

จริงๆ แล้ว Hi5 ถือเป็นระบบ Online Social Network อันหนึ่ง ซึ่งในระดับโลกนั้นมีอีกหลายเจ้าที่ดังๆ และคนเล่นเยอะๆ อย่างที่ขึ้นชื่อมากๆ เลยก็คือ Facebook (http://www.facebook.com) ผมเคยอ่านเจอใน Blog ไหนสักแห่ง เขาบอกว่า Facebook นี่ดังมากในต่างประเทศ เพราะมันเริ่มมาจากเครือข่ายของพวกนักศึกษาตาม U ต่างๆ ที่ใช้ติดต่อหาเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ มันดังจนกระทั่งทำให้ Mark Zuckerberg ผู้สร้าง Facebook กลายเป็น CEO ที่รวยกระฉูดตั้งแต่อายุยังน้อย (หนังสือแนวๆ คู่สร้างคู่สมชอบเอาเรื่องแนวนี้ไปลงอยู่บ่อยๆ) แต่ในทางกลับกัน Hi5 ในต่างประเทศที่อยู่อันดับท้ายๆ ที่ไม่ค่อยมีใครเล่นกัน ซึ่งผมก็คิดเองว่า Hi5 มีข้อด้อยหลายๆ อย่างเมื่อเทียบกับตัวดังอย่าง Facebook เช่น

- ความเรียบง่ายในการใช้งาน

- ความเสถียรของระบบ (เคยเม้นต์แล้วไม่ติดมั้ยครับ)

- ความปลอดภัยของระบบ (เช่น ถั่วด๋อย)

- Interface ก็น่าจะมีผลด้วยแหละ

แต่ทำไมในประเทศไทย Hi5 จึงยึดหัวหาดได้ทั่วถึงอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ? นี่เป็นคำถามซึ่งผมก็อยากรู้เหมือนกันครับ แต่เอาเป็นว่าในบทความนี้จะไม่ขอพูดถึงในส่วนที่ว่าละกัน ประเด็นที่ผมอยากจะบอกในวันนี้ก็คือ ทำไม Online Social Network ถึงมีผลกับชีวิตเราจนทำให้เรามากมายขนาดที่ว่า :

- เวลา Online MSN แล้วมีข้อความว่า มี E-Mail จาก Hi5 ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ก็จะหยุดและรีบไปเปิดดูก่อน

- เวลามีคนมาเม้นต์ (Comment) เราแล้วส่วนใหญ่เราต้องไปตอบ

- นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ใช้ CSS แต่ง Skin Hi5 เป็นก่อนที่จะใช้ Microsoft Word เป็นซะอีก

- เวลาแนะนำตัวกับใครต้องบอก URL Hi5 ของเราไปด้วย

- แลยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่นึกไม่ออกแต่คุ้นตาอยู่

โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการสังคมนะครับ การที่มีคนรับรู้ว่าเรามีตัวตนอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเรายังคงดำเนิน ต่อไปได้อย่างปกติสุข ไม่ว่าคนๆ นั้นจะรักสันโดษเพียงใดก็ตามแต่ แต่อย่างน้อยก็อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ โดยสัญชาติญาณบางทีเราอาจจะอยากให้มีใครๆ รับรู้ในสิ่งที่เป็นเรา และสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับเราก็เป็นได้

เมื่อ Life Style ของคนปรับเปลี่ยนมาสู่สังคมออนไลน์ที่มีอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนเชื่อมต่อ การแสดงตัวตนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น การติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันเป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็ว คนเราก็เลยเริ่มกล้าที่จะแสดงตัวตนของตัวเองออกมามากขึ้น (อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางที่คล้ายกับโทรศัพท์ เพราะผู้ติดต่อสามารถติดต่อกันได้ไม่ต้องเจอหน้ากัน) ซึ่งตรงนี้เองละมั้งครับที่ทำให้เราต้องการเครื่องไม้เครื่องมือในการสร้าง ข้อมูลที่ช่วยให้ตัวตนของเราได้ปรากฏในโลกอินเตอร์เน็ตอันกว้างใหญ่นี้ ในสมัยก่อนถ้าเป็นคนที่พอเล่นคอมฯ เก่งๆ หน่อยก็จะทำ Homepage ของตัวเองกัน แต่ในปัจจุบัน Tools ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้ง่ายขึ้นอย่างเช่น Webboard, Blog ก็ทำให้การสร้างข้อมูลตัวตนของคนเราง่ายขึ้นไปอีก จนกระทั่งมาถึงยุคของ Microblog และ Online Social Network ที่ตอบโจทย์นี้ได้ตรงใจคนมากที่สุดครับ

ผมมองว่า จุดเด่นของ Online Social Network ไม่ได้อยู่ที่กระบวนการหาเพื่อน เช่น การส่ง E-Mail ไป Invite คนโน้นคนนี้ที่อยู่ใน Contact List ของเรา หรือการที่เพื่อนของเพื่อนของเพื่อนๆๆๆ ที่อยู่ใน Contact เราจะเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ในอดีตที่ได้มาเจอกันอีกครั้ง ..ผมคิดว่าส่วนสำคัญของมันน่าจะเป็น การที่มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการสร้าง Profile ของเราเองในระบบของมันมากกว่า เหมือนอย่างที่ Hi5 เมื่อก่อนที่ไม่ค่อยมีอะไรมากมายนัก ต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนา เพิ่มของเล่นเข้าไปเช่น Application (อันนี้ Hi5 ทำทีหลัง Facebook อยู่นานโข) หรืออย่างล่าสุดก็คือ What are you doing ? (หรือ Scrapbook เดิม) ที่ดูยังไงก็เหมือนกับเอาแนวทางของ Microblog อย่าง Twitter หรือ Noknok มาใช้เห็นๆ .. เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้การแสดงตัวตน หรือการเพิ่มความละเอียดอ่อนให้กับ Profile ของเราทำได้ดีขึ้นและละเอียดมากขึ้น --- เพื่อบอกในสิ่งที่เป็นเราให้ชัดเจนขึ้น ครับ

สุดท้ายขออนุญาตสรุปเลยละกันนะครับ ว่า ไม่ว่าจะเป็น Hi5 หรือ Facebook หรืออื่นๆ แต่สิ่งที่ Online Social Network ได้มอบให้กับผู้อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีชีวิตอย่างเราๆ ก็คือ การที่ทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว และยังมีคนอื่นๆ ที่ยังรับรู้ถึงการมีตัวตนของเรานั่นเองครับ

ขอตัวไปเม้นต์ก่อนนะครับ เหอๆๆๆๆ


(เขียนครั้งแรกใน http://gotoknow.org/blog/chayan วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551)

27 พฤศจิกายน 2551

039 | Draft 'til Done : ป้ายแนะนำโปรแกรมวิชาฯ

ออกแบบป้ายแนะนำโปรแกรมวิชาฯ ที่จะใช้ในงานวันเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัยฯ ปี 2551 นี้ครับ
(จัดงานไปเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา)
ผมทำของวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ อ.โอมทำของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
เอามาให้ดูครับ

Draft...

'til Done





อันข้างๆ คือแนะนำ ICT ของ อ.โอมครับ

038 | หอคอย 10 ชั้น

เมื่อวันเสาร์ที่แล้วขึ้นเขาดาวดึงษ์กับบุญเสริม เห็นหอคอยเปิดให้เข้าชมได้แล้วก็เลยจัดซะหน่อย เสียค่าเข้าชม 20 บาทสำหรับผู้ใหญ่ วันธรรมดาเปิดถึงประมาณ 6 โมงเย็น ส่วนเสาร์-อาทิตย์เปิดถึงประมาณ 2 ทุ่ม รายละเอียดที่เหลือขอเชิญชมภาพครับ



ทางเข้าครับ ตรงนี้ต้องเสียตัง 20 บาท



ชั้นสอง บรรยากาศไฮโซมาก ชั้นนี้จะมีขนม เครื่องดื่มขาย





แว๊บบ ... แปปเดียวถึงชั้นบนสุด (มี 10 ชั้นครับ)



บรรยากาศนครสวรรค์ที่มองจากจุดสูงสุดในเมือง มองแล้วเสียวขาพิกล แต่ก็สวยมากครับ



ละแวกนี้น่าจะเป็นเขาที่อยู่ตรงสี่แยกพิดโลก



วันที่ขึ้นไปม็อบข้าวยังปิดสะพานเดชาฯ อยู่ มองไปทางนั้นก็จะเห็นแต่ถนนโล่งๆ



พระเจดีย์จุฬามณี เหลือนิดเดียว

ภาพทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องมือถือ Nokia 5310 Xpressmusic อาจจะไม่ค่อยชัดเท่าไรนะครับ

23 พฤศจิกายน 2551

037 | Python กับการพัฒนาระบบสารสนเทศ

เทอมนี้ได้สอนวิชาแปลกอีกแล้วครับ ก็คือรายวิชาที่มีชื่อว่า " การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development) " กลุ่มที่เรียนก็คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ปี 2 ซึ่งกลุ่มนี้เคยสอนไปแล้วในรายวิชา Distributed System ตอนปี 1 (และแจก E เป็นครั้งแรกในชีวิตไป 5 คน)

ดูจากคำอธิบายรายวิชา วิชานี้เหมือนจะเน้นสอนในเรื่องของ SDLC และการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล (DFD : Data Flow Diagram) ซึ่งผมก็ค่อนข้างมั่นใจอยู่พอสมควร แต่เนื่องจากผิดสังเกตอยู่เล็กน้อยว่า ในข้อมูลรายวชิาทั้งหมดของสาขา ICT นี้ มีรายวิชาที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันอยู่หลายตัว เช่น การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design), การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System Management) ประมาณนี้ และผมก็เริ่มรู้สึกว่า เนื้อหาที่ผมจะสอนอาจจะไปซ้ำกับรายวิชาที่ นศ.เคยเรียนไปแล้วก็เป็นได้ ผมก็เลยยังไม่เตรียม Course Syllabus ไปในการสอนครั้งแรก และตั้งใจว่าจะขอเก็บข้อมูลจาก นศ.ดูก่อน

พอสอบถามกับ นศ.แล้วก็พบว่า เนื้อหาที่ผมต้องสอนในรายวิชานี้นั้น นศ.ได้เรียนไปหมดแล้วในรายวิชาวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ผมอยากจะร้องไห้ให้คนจัดหลักสูตรดูจริงๆ เลยแหละ) แล้วผมจะทำเช่นไรในเมื่อรายวิชาที่สอนมันมีเนื้อหาซ้ำซ้อนกันเช่นนี้

ที แรกผมก็คิดว่ามันอาจจะเป็นแบบนี้ ก็เลยเตรียมไว้ว่า ถ้ามันซ้ำขึ้นมา ผมจะเอาเนื้อหาที่เกี่ยวกับ Software Engineering มาสอน แต่แล้วก็ต้องสะดุดกึกเพราะในเทอมเดียวกันนี้ นศ.ยังได้เรียนวิชา วิศวรรมซอฟต์แวร์ (Software engineering) อีกตัวหนึ่ง !!

เซงได้แต่เซงครับอย่างนี้

ทันใดนั้นผมก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ในรายวิชาที่ผมเรียน (ปริญญาโท) ในเทอมนี้ มีวิชา การวิเคราะห์และการออกแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Analysis and Design) สอนโดย อ.วัชระ ฉัตรวิริยะ ซึ่งในคาบเรียนที่สอน อ.วัชระ จะให้แบ่งกลุ่มทำงานเป็นลักษณะการจำลองทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งประกอบไปด้วย

- Project Manager (PM)
- System Analyst (SA)
- Programmer (PG)
- Configuration Manager (CM)
- Measurement Analyst (MA)
- Quality Assurance (QA)

กลุ่ม หนึ่งจะมี 6 คน แบ่งงานกันทำตาม Requirement ที่ได้รับมอบหมาย (อ.วัชระจะรับบทเป็นทั้งลูกค้า และ Consultant) โดยแต่ละคนต้องทำหน้าที่ของตัวเองในกลุ่ม และจับเวลาการทำงานโดยสมมติว่า 1 ชั่วโมงเท่ากับ 1 วันเป็นต้น ผลลัพธ์ของงานกลุ่มก็คือ โปรแกรมที่พัฒนาตาม Requirement และเขียนด้วยภาษา Java และเอกสารต่างๆ ในการทำงาน เช่น Use Case และ Diagram ต่างๆ ที่วิเคราะห์และออกแบบโดย SA (การออกแบบต้องมองในมุมมองที่เป็น OO), เอกสารบันทึกการทำงานของ MA, เอกสารเวอร์ชันต่างๆ ที่รวบรวมโดย CM เป็นต้น ซึ่งข้อตกลงก็คือ งานต้องเสร็จทันเวลาและตรงตามความต้องการของลูกค้า ถ้างานเสร็จไม่ตรงเวลาก็ถือว่าโครงการนั้น Fail ไปเลย ประมาณนี้

บรรยากาศ ในการเรียนในวิชานี้ Active มาก เนื่องจากทุกคนต้องทำหน้าที่ของตัวเองและแข่งกับเวลาที่มีอยู่จำกัดในแต่ละ ครั้ง อีกทั้งรูปแบบการทำงานของแต่ละตำแหน่ง (แต่ละคน) ก็ดูคล้ายคลึงกับสภาพการทำงานในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์จริงๆ ซะด้วย ทุกคนที่เรียนในคลาสนี้จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าสนุกมาก ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมเริ่มมองเห็นประโยชน์แล้ว

นศ.กลุ่มที่ผมจะสอนมีทั้งหมด 12 คน แบ่งกลุ่มละ 6 คนก็ได้ 2 กลุ่มพอดี ตรวจงานได้ง่าย และเข้าถึงการทำงานของ นศ.ได้ดีมากๆ

เนื้อหา ที่สอน ผมตั้งใจว่าจะไม่บังคับทฤษฏีอะไรมาก ผมอนุญาตให้ นศ.ออกแบบระบบโดยการเขียน Flow Chart ได้ (เนื่องจาก นศ.ยังไม่ได้เรียนรายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ - วิชาที่ผมได้เรียนตอน ป.โท แต่ นศ.กลุ่มนี้จะได้เรียนตอน ป.ตรี ปี 3 เหอๆๆ) แต่อยากให้ นศ.ได้สัมผัสบรรยากาศในการทำงานเป็นทีมพัฒนาซอฟต์๋แวร์แบบที่ผมเคยได้สัมผัส มาแล้วบ้าง ส่วนเนื้อหาอื่นๆ อาจจะต้องสอดแทรกไปด้วยระหว่างที่เรียน อันนี้ก็คงต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

ปัญหาใหญ่หลวงก็คือ โปรแกรมที่ นศ.จะต้องเขียนขึ้นมาเพื่อส่งในคาบแต่ละครั้ง ที่ผมเรียนนั้น อ.วัชระให้ใช้ภาษา Java เนื่องจากการวิเคราะห์ก็เป็น OO อยู่แล้ว เวลาเขียนโปรแกรมก็๋ให้เป็น OO ด้วยซะเลย ซึ่งแม้ว่า Programmer ของแต่ละกลุ่มจะมีประสบการณ์การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุอยู่บ้างแล้ว แต่ในเวลาที่เรียนจริงๆ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ก็ยังทำได้ช้าอยู่ดี และถ้าเอามาสอนกับ นศ. ป.ตรีของผมล่ะ ? ดูท่าทางจะวุ่นวายน่าดู และเวลาที่ใช้สอนก็น้อยกว่ากันเกือบครึ่งด้วย (ที่ผมเรียนกับ อ.วัชระในแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 8 ชม. แต่รายวิชาที่ผมสอนมีเวลาให้ประมาณ 4 ชม.) คราวนี้จะให้ นศ.ใช้ภาษาอะไรเขียนโปรแกรมส่งดีละครับ

ผมนึกถึงภาษา Python อีกแล้ว...

ข้อ ดีหลายอย่างของ Python ดูเหมือนจะเข้าทางกับสิ่งที่ผมกังวลอยู่พอดี ผมตัดสินใจแจ้ง นศ.ในการเข้าสอนครั้งต่อมาว่า นศ.ต้องเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ส่งภายในคาบในการทำงานกลุ่มแต่ละครั้ง นศ.ร้องฮือๆๆ บ่นว่า ไม่เคยเรียน ไม่เคยได้ยินมาก่อน ภาษาอะไรๆๆ Blah Blah ~~

พอผมบอกว่า Python เรียนรู้ง่าย เขียนง่าย เขียนเร็ว นศ.ก็ยิ้มออกเล็กน้อย ก่อนที่ผมจะบอกให้พวกเขาไปศึกษา Syntax และวิธีการเขียนเอาเอง โดยศึกษาจาก Slide ที่ผมลองสรุปไว้สอนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น (เมื่อเทอมที่แล้ว) และศึกษาจากหนังสือต่างๆ ที่มีอยู่ ก่อนที่จะเริ่มเรียนจริงๆ ในครั้งหน้า

ศุกร์หน้านี้จะเป็นการสอนแบบจริงๆ ครั้งแรก ผลลัพธ์จากการลองของนี้จะเป็นอย่างไร ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันครับ.


(เขียนครั้งแรกใน http://gotoknow.org/blog/chayan วันที่ 23 พฤศจิกายน 2551)

22 พฤศจิกายน 2551

036 | ม็อบสะพานเดชาฯ

เหตุการณ์วันที่ 21 พฤศจิกายน 2551
ถ่ายด้วยกล้องมือถือภาพอาจจะเห่ยนิดนึงนะครับ



กองข้าว



ผมแอบเก็บข้าวเปลือกมากำนึง



เทซะกลางแยกไฟแดงเลย



คนพลุกพล่านพอสมควร



ทางเส้นนี้ที่จะไปแมคโคร



สามแยก



มอเตอร์ไซค์กลางภาพคือของผมเอง



อ่านว่า ท่านรัฐมนตรีครับ ชาวนาจะตายกันอยู่แล้ว !



ถ่ายจากสะพานลอย



ทางขึ้นสะพานด้านที่จะเข้าเมือง

.. มีคนพูดกันว่านี่อาจจะเป็นม็อบจัดหาเพื่อกันไม่ให้พันธมิตรฯ รวมคนเข้ากรุงเทพฯ ในวันที่ 23 ซึ่งอันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สะพานเดชาฯ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเดินทางระหว่างภาคเหนือ-ภาคกลาง หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ เหตุใดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ไขจึงปล่อยให้ยืดเยื้อจนข้ามวัน (วันที่ 22 ยังคงปิดถนนอยู่) คงต้องรอดูเหตุการณ์คืบหน้ากันต่อไป..เหอๆ

19 พฤศจิกายน 2551

035 | Sexy Acting



ไม่ได้บังคับให้มันนอนท่านี้นะคร้าบ มันนอนของมันเอง

14 พฤศจิกายน 2551

034 | Search Result in Google

เมื่อกี้นั่ง Search หาเรื่อง Python กับ Django ให้นักศึกษาที่ปรึกษาเรื่องโปรเจ็คจบ ใช้ Keyword ว่า "python" แล้ว Search ใน Google โดยเลือกให้หาเฉพาะหน้าของประเทศไทย ก็พบกับผลลัพธ์นี้ครับ



มีเว็บเพจของ Gotoknow ที่ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ การสอน Python ในวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ปรากฏขึ้นในหน้าแรกของผลลัพธ์การค้นหา และอยู่ในลำดับที่ 9

โอ้วววววววววววววววววว !!!!!!!!!!!

(ป.ล.มันเท่อีตรงที่มีชื่อ-นามสกุลของผมขึ้นในหน้าแรกของผลลัพธ์นั่นแหละครับ เท่ที่ซู้ดดด)

10 พฤศจิกายน 2551

033 | มหาวิทยาลัยนเรศวร [1]

เมื่อวันเสาร์เลิกเรียนเร็วนิดนึงก็เลยเดินเล่นใน ม.ครับ เห็นอากาศดีๆ แสงกำลังสวย เลยถ่ายเก็บมาอวดกันนิดหน่อย เชิญทัศนา



โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และหอพระ



อาคารสำนักงานอธิการบดี



อาคารสำนักงานอธิการบดี



อาคารมิ่งขวัญ



ทางเดินหลังอาคาร QS



สวนหลังอาคาร QS



หอสมุด



ศูนย์หนังสือจุฬาฯ



ถนนเข้าศูนย์หนังสือจุฬาฯ



คณะแพทยศาสตร์



ลานสมเด็จฯ



ถนนหน้าโรงพยาบาล



ถนนทางเข้าจากหน้า ม.

หมดละครับ กว่าจะเดินได้รอบแค่นี้ก็มืดแล้ว กล้องมือถือผมก็ถ่่ายกลางคืนไม่ได้เรื่องซะด้วย
เอาไว้คราวหน้าจะถ่ายส่วนอื่นมาอีกนะครับ

(ภาพทั้งหมดถ่่ายด้วยกล้องจากโทรศัพท์มือถือ Nokia 5310 Xpressmusic)

05 พฤศจิกายน 2551

032 | Death Poem 8 Years Later

..ฉันจะต้องทำร้ายตัวเองในเงาแห่งความปวดร้าว
เพื่อให้ความเจ็บปวดกลืนกินความโหดร้ายในความจริง
แต่แม้เวลาจะเลยผ่าน...ฉันกลับไม่อาจฟื้นยืน
และเผชิญหน้ายอมรับสิ่งที่เห็นในกาลนี้
ทุกๆ อย่าง...เกิดขึ้น ผ่านไป คล้ายวนเวียน
ฉันจมดิ่งลงสู่ความโศกเศร้าสีแดงฉาน
เคลือบย้อมดวงตาฉันจนมืดมิด..สูญสิ้นวิญญาณ
แต่เหตุใดฉันยังคงรับรู้ ?
ความพยายามที่จะตื่น...จากรอยแผลแห่งรักสีแดงนั้น
สิ้นหวังลงทุกครั้งเมื่อเงาแห่งเธอทั้งสองพาดผ่าน
แม้ร่ำร้อง...แม้คร่ำครวญ
ก็ไม่มีวันจะหยุดการไหลของกาลเวลา
ฉันหยุดยืน...ก้าวเดิน...และทรุดกาย
ล้มลงนอนทอดกายใต้แสงจันทร์อันแสนหม่นหมอง
เฝ้าไถ่ถามตัวเอง...แต่กลับไร้ที่มา...ไร้ความหมาย
ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพื่อฉันหรืออย่างไร ?
ฉันจะทำอย่างไรต่อไป..เมื่อราตรีนี้ แสงเงาแห่งเธอ..
คล้ายไม่คิดจะยุติหนทาง...
ราวกับจะโอบกอดกายเปลือยเปล่าแห่งฉัน
...ด้วยความปรารถนา..เพียงฉันสูญสิ้นศรัทธา
เงานั้นรอคอยให้ฉันทำลายแสงเงาแห่งตัวฉันเอง
เป็นทางเลือกที่ปวดร้าวและแสนสุข...ฉันยอมรับสิ่งนั้น
อีกเพียงไม่นาน...บทบาทของฉันจะสิ้นสุดลง
เงาแห่งความเกลียดชังและหยามเหยียดจะกลืนกิน
เงาแห่งความหวังจะถึงกาล...
ฉันรอวันแห่งชะตานั้น...หยุดความพยายามไร้ค่า..ของตัวฉันเอง
ขอเธอ..ได้โปรด..นำทางฉันไปพบจุดจบอันน่ารื่นรมย์นั้น
เสียที.

[ un Reborn ]
krimson written in 5.11.2008


8 ปีหลัง Death Poem บทสุดท้าย ผมกลับมาแล้วครับ..

03 พฤศจิกายน 2551

030 | เปิดเทอม 2/2551

เปิดเทอมแล้วก๊าบ..

เทอมนี้สอนวิชาหลากหลายมาก

- ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) comsci ปี 4 ห้อง 1-2
- การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ (Web Programming) คอมธุรกิจ ปี 3
- การพัฒนาระบบสารสนเทศ ICT ปี 2
- คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มศึกษาทั่วไป 1 กลุ่ม

จะพยายามขี้เกียจให้น้อยลงนะครับ เพื่อลูกศิษย์ทุกท่าน

01 พฤศจิกายน 2551

029 | My 25th Anniversary



ฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
พฤศจิกายน พ.ศ.2549
(3 Years Ago)

วันคล้ายวันเกิด (ไม่ใช่วันเกิดเพราะเกิดไปแล้ว)
ไม่ใช่วันสำคัญอะไร หน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ-เอกชนก็ไม่หยุด
ไม่ใช่วันที่ใครจะมาเฉลิมฉลอง
ไม่ใช่วันที่รู้กันทั่วไป มีคนให้ความสำคัญแค่ไม่กี่คน
วันนี้สำหรับผม ก็เป็นวันธรรมดาๆ วันหนึ่ง
วันคล้ายวันเกิดปีนี้ผมก็มาเรียน ป.โท ที่ มน. ก็ไม่เห็นจะมีอะไรพิเศษตรงไหน
ปีที่แล้วผมทำงาน ลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดถ้าแม่ไม่บอก
วันนี้ก็เหมือนกัน เรียนเสร็จผมก็จะขับรถกลับบ้าน แล้วก็ไปเช่าการ์ตูนอ่านตามปกติ
นัดเพื่อนๆ น้องๆ มาเฮฮาบ้างนิดหน่อยตามปกติ
กลับเข้าบ้านก็เตรียมสอนเทอมหน้า (เปิดเทอมวันมะรืนนี้แร้ว) เล่นกับแมวๆ ตามปกติ
ก่อนนอนก็โหลดบิต เช็คเมล เล่น Hi5 เปิด Second Life ยืน Camp หาตังค์ตามปกติ
ชีวิตอะไร ธรรมดาเหลือเกิน เหอๆๆ

แต่ยังไงสำหรับทุกคนที่อวยพรให้ในวันนี้ ผมอยากจะบอกว่าผมขอบคุณมาก
ขอบคุณมากนะครับ.